บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ในการวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการในการใช้เกมการศึกษา 2) หาแนวทางพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย และ 3) ติดตามผลการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสียว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ โดยดำเนินการ 2 วงรอบ มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ร่วมวิจัย จำนวน 11 คน และผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยจำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการนิเทศภายใน และแบบประเมินความรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ครูผู้ดูแลเด็กมีทักษะในการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษา โดยรวม อยู่ในระดับน้อย ปัญหาการใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนความต้องการในการใช้เกมการศึกษาเพื่อการจัดการเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็ก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. แนวทางในการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน
3. การติดตามผลการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการ จัดการเรียนรู้ โดยใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นอย่างดี และส่งผลให้ครูผู้ดูแลเด็กมีความสามารถในการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were to: 1) study for states, problems and requirement, 2) find the way in develop of teachers in the use of educational games for learning for children and 3) monitoring the development of teachers in the use of educational games for learning for children in the child development centre of Tambon Banseaw, Na Wa district, Nakhon Phanom Province. Using a participatory action research. There are four steps in the implementation process; planning, action,observation and reflection by action in two cycles. The target group of this research; co-researchers were 11 people and the people who give data in this study were 18 people. The instruments used in this study were questionnaire form, observation form, interview, supervision form, evaluation form. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation.
The findings of this study were as follows:
1. The state on the development of teachers in the use of educational games for learning for children indicated that factors on the teachers were at the low level as a whole. The teachers lakcked accurate knowledge, understanding, skills, techniques on the use of educational games for learning for children. The probroblems on the development of teachers in the use of educational games for learning for children were at the high level and the requirement on the development of teachers in the use of educational games for learning for children were at the highest level.
2. For the way in developing of teachers in the use of educational games for learning for children in the child development centre. Consists of the workshop and supervision.
3. Regarding the monitoring and assessment on the development of teachers in the use of educational games for learning for children in the child development centre, it was found that the teacher have knowledge understanding and skills in the curriculum to use of educational games for learning for children. As a result, teachers have ability of various activities to children more effectively.
คำสำคัญ
เกมการศึกษา, การเรียนรู้ปฐมวัยKeyword
Educational games for learningกำลังออนไลน์: 52
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,448
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,647
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093