...
...
เผยแพร่: 15 ก.ค. 2558
หน้า: 161-169
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 549
Download: 210
Download PDF
การเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านการแต่งกายและการรักษาความสะอาด โรงเรียนมัธยมศึกษา เทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา” สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสกลนคร
Enhancing the Secondary School Students' Disciplines on Dressing and Cleanness at Thetsaban 3 "Yuttithamwitthaya" Secondary School under the Office of Education, Sakon Nakhon City Municipality
ผู้แต่ง
คุณวุฒิ ภิรมย์ลาภ, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ระภีพรรณ ร้อยพิลา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับวินัยนักเรียนด้านการแต่งกายและการรักษาความสะอาด โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา” 2) หาแนวทางการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านการแต่งกายและการรักษาความสะอาด 3) เพื่อติดตามผลการดำเนิน งานเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านการแต่งกายและการรักษาความสะอาด กลุ่มเป้าหมายประกอบ ด้วย กลุ่มผู้ร่วมวิจัยจำนวน 21 คน ประกอบด้วย ผู้วิจัยซึ่งเป็นครูที่ปรึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 หัวหน้างานปกครอง ครูที่ปรึกษานักเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 98 คน กลุ่มเป้าหมายการพัฒนา นักเรียนจำนวน 80 คน ประกอบด้วยนักเรียนกลุ่มแต่งกายไม่ถูกระเบียบจำนวน 46 คน นักเรียนกลุ่ม ไม่รักษาความสะอาดจำนวน 34 คน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วงจรการวิจัยแบบ PAOR ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การวางแผน (planning) ขั้นที่ 2 การปฏิบัติการ (action) ขั้นที่ 3 การสังเกตการณ์ (observation) และขั้นที่ 4 การสะท้อนผล (reflection) โดยดำเนินการ 2 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตและแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละความก้าวหน้า และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและปัญหาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านการแต่งกายและการรักษาความสะอาด โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ "ยุติธรรมวิทยา" สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสกลนคร พบว่า 1.1) สภาพของวินัยนักเรียนด้านการแต่งกายและการรักษาความสะอาด ผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นว่านักเรียนยังไม่มีวินัยเท่าที่ควร โดยเฉพาะนักเรียนบางส่วนแต่งกายไม่ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน แต่งกายเป็นไปตามสมัยนิยมมากเกินไป นักเรียนไม่ใส่ใจในการดูแลรักษาความสะอาดร่างกายและ เครื่องแต่งกาย ขาดระเบียบวินัยในเรื่องเครื่องแต่งกายและการรักษาความสะอาด 1.2) ปัญหาเกิดจากการปฏิบัติงานเกี่ยวกับวินัยนักเรียนด้านการแต่งกายและการรักษาความสะอาด ยังไม่มีรูปแบบหรือ แนวทางที่กำหนดการปฏิบัติไว้ชัดเจน ครูผู้สอนไม่มีโอกาสชี้แจงแนวการปฏิบัติในเรื่องการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน การดำเนินงานวินัยนักเรียนด้านเครื่องแต่งกาย ทำได้เพียงตักเตือน

2. แนวทางและกิจกรรมการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านการแต่งกายและการรักษาความสะอาด ใช้ 3 แนวทาง ได้แก่ 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) กิจกรรมเพื่อพัฒนาการดำเนิน งานเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านการแต่งกายและการรักษาความสะอาด 3 กิจกรรม ได้แก่ 2.1) กิจกรรมโฮมรูม 2.2) กิจกรรมตรวจเครื่องแต่งกายและการรักษาความสะอาด 2.3) กิจกรรมประกวดนักเรียนแต่งกายถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียนและการรักษาความสะอาด และ 3) การนิเทศติดตาม

3. ผลการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านการแต่งกายและการรักษาความสะอาดพบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านการแต่งกายและการรักษาความสะอาดอยู่ในระดับมาก กลุ่มผู้ร่วมวิจัยและนักเรียนเห็นความสำคัญของการมีวินัย ผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนในการกำหนดแนวทางและกิจกรรมในการพัฒนาการดำเนินงานร่วมกัน นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเดิมจำนวน 80 คน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาจำนวน 76 คน ประกอบด้วยแต่งกายไม่ถูกระเบียบจำนวน 46 คน โดยเป็นนักเรียนชายเดิมจำนวน 30 คน ลดลง 27 คน นักเรียนหญิงเดิมจำนวน 16 คน ลดลง 15 คน และในกรณีของนักเรียน ที่ไม่รักษาความสะอาด เป็นนักเรียนชายเดิมจำนวน 23 คน และนักเรียนหญิงเดิมจำนวน 11 คน รวมทั้งหมดจำนวน 34 คน ซึ่งบรรลุความมุ่งหมายตามที่ตั้งไว้ คงเหลือนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาจำนวน 5 คน

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this study were to 1) investigate current conditions and problems of the students’ disciplines on dressing and cleanness at Thetsaban 3 "Yuttithamwitthaya" Secondary School under the Office of Education, Sakon Nakhon City Municipality, 2) find out guidelines for enhancing the students’ disciplines on dressing and cleanness, and 3) follow up and evaluate the enhancement of the students’ disciplines on dressing and cleanness. The sampling groups consisted of the researcher as a teacher in charge of Mathayom Suksa 1/4, the head of disciplinary affairs and 19 co-researchers who were the teachers in charge of Mathayom Suksa 1-6, along with 98 informants. The targeted group was composed of 80 students who were among 46 students with improper dressing styles against the school disciplinary rules/regulations and those 34 students with no responsibilities on cleanness. The 2-spiral PAOR model of 4 phrases in each spiral comprising: planning, action, observation and reflection was employed. The instruments applied in this study comprised a form of interview, a form of observation, and a form of assessment. The quantitative data were analyzed in forms of percentage, mean, standard deviation, Percentage of Progress. Content analysis was used to analyze qualitative data.

The findings were as follows:

1. The current conditions and problems of the students’ disciplines on dressing and cleanness at Thetsaban 3 "Yuttithamwitthaya" Secondary School revealed that 1.1) The current states of the students’ disciplines on dressing and cleanness observed by those concerned showed that the students were not quite well-disciplined. Particularly, some of the students usually wore improper dressing styles against the school disciplinary rules/regulations, dressing styles with modern fashion, a neglect of responsibility on body and dressing cleanness and a lack of appropriate disciplines on dressing and cleanness,  1.2) There were some problems on the procedures of the students’ disciplines on dressing and cleanness caused by the unclear rules or having no modes of rules/guidelines. The teachers did not have enough time for explaining the rules/guidelines of improper dressing styles against the school disciplinary rules/regulations to the students mentioned. The procedures of the students’ disciplines on dressing were done by warnings only.

2. The guidelines and activities for enhancing the students’ disciplines on dressing and cleanness included 3 means: 1) a workshop, 2) implementation of the enhancement of the students’ disciplines covering all 3 activity respects -2.1) homeroom, 2.2) dressing and cleanness checking, and 2.3)  an activity on the contest of dressing styles in line with  the school disciplinary rules/ regulations   as well as the students’ cleanness, and 3) monitoring supervision.

3. The effects of developing the enhancement of the students’ disciplines on dressing and cleanness indicated that the teachers gained knowledge and understanding at the high level. The co-researchers and students realized the importance of disciplines. In addition, the stakeholders concerned participated in setting up strategies as well as guidelines and activities in developing the implementation of the student disciplines. The 80 targeted students were reduced to 76 including those 46 students with improper dressing styles against the school disciplinary rules/regulations. This could be classified as follows: 27 male students were reduced out of 30 and 15 female students were reduced out of 16. In case of those regarded as the students with no cleanness, it was found that 23 male students and 11 female students – a total of 34 students achieved the goal of reduction set.

คำสำคัญ

สภาพและปัญหา, แนวทางและกิจกรรม, วินัยด้านการแต่งกายและการรักษาความสะอาด

Keyword

Conditions and Problems, Guidelines and Activities, Disciplines on Dressing and Clean

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093