บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา ปัจจัยความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 325 คน ได้มาโดยตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราประเมินค่า 2 ฉบับคือแบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนมีค่าความเชื่อมั่น 0.994 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น 0.992 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t – test, F – test (One - Way ANOVA) สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นมากกว่าครูผู้สอน
4. ระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01โดยผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นมากกว่าครูผู้สอน
5. ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่การสอนในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน
6. ระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่การสอนในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
7. ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน โดยรวมและรายด้าน ทุกด้านไม่มีความแตกต่างกัน
8. ระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกันโดยรวมและรายด้านไม่มีความแตกต่างกัน
9. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนแต่ละด้าน ทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลรวมประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
10. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานและด้านปริมาณงานที่มีความเหมาะสม มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารวิชาการโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
11. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางยกระดับการบริหารงานวิชาการโรงเรียนทั้ง 13 ด้านไว้ด้วย
Abstract
ABSTRACT
This study aimed at investigating factors on job satisfaction of teachers affecting effectiveness of academic affairs management in schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 23.Samples used consisted of 325 school administrators and teachers in schools in the academic year 2013 through Kreje’s and Morgan’s tables. Tools employed to collect data included two copies of rating scale questionnaires comprising: a questionnaire on teachers’ job satisfaction with reliability of 0.994 and a questionnaire on school academic affairs management with reliability of 0.992. Statistics applied were percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test (One-Way ANOVA) and Pearson’s Product Moment Correlation.
Findings were as follows:
1. The teachers’ job satisfaction as perceived by the school administrators and teachers, in general, was at the high level.
2. The effectiveness of academic affairs management in the opinions of the school administrators and teachers, as a whole, was at the high level.
3. The teachers’ job satisfaction in the perception of the school administrators and teachers Showed a difference at the .01 l1vel of significance. The school administrators’ perception was higher than that of the teachers.
4. There was a difference in the effectiveness of academic affairs management as perceived by the school administrators and teachers at the .01 level of significance. The school administrators obtained more perception than the teachers.
5. There were no significant differences in the teachers’ job satisfaction on academic affairs management in the opinions of the school administrators and teachers working in the schools of different size in general and in particular.
6. There were no significant differences in the effectiveness of academic affairs management as perceived by the school administrators and teachers in the schools of different size as a whole.
7. The job satisfaction toward academic affairs management in the perception of the school administrators and teachers with different working experiences showed no significant differences as a whole and in each aspect.
8. The effectiveness of academic affairs management as perceived by the school administrators and teachers with different working experiences was not significantly different in general and in particular.
9. The job satisfaction toward the teachers’ performance in each aspect found that every aspect obtained a positive relationship with the overall effectiveness of academic affairs management at the .01 level of significance.
10. The satisfaction toward the teachers’ job performance on working environment as well as Appropriate working loads obtained the predicting power on academic affairs management at the .01 level of significance.
11. The 13 school aspects of upgrading the proposed guidelines on academic affairs management were included.
คำสำคัญ
ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน, ประสิทธิผลงานวิชาการโรงเรียนKeyword
Satisfaction Affecting Academic Affairs Management, Effectiveness in Schoolsกำลังออนไลน์: 47
วันนี้: 2,384
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,583
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093