บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดกิจกรรมของครูผู้ดูแลเด็กในการจัดกิจกรรมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแปน อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการจัดกิจกรรมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3) ติดตามผลการใช้แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการจัดกิจกรรมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 10 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ เด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแปน อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม แบบประเมินความพึงพอใจ แบบประเมินแผนการจัดกิจกรรม แบบสังเกตพฤติกรรม สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ นำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและปัญหาของครูผู้ดูแลเด็กในการจัดกิจกรรมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแปน อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร
1.1 สภาพในการจัดกิจกรรมของครูผู้ดูแลเด็กเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กปฐมวัย พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กปฐมวัยในเบื้องต้นซึ่งไม่ลึกซึ้งถึงกระบวนการลดพฤติกรรมก้าวร้าว ครูส่วนมากยังไม่เคยผ่านการฝึกปฏิบัติการด้านการจัดกิจกรรมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวเด็กปฐมวัย
1.2 ปัญหาในการจัดกิจกรรมของครูผู้ดูแลเด็กเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแปน อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร พบว่า ครูยังขาดทักษะการจัดกิจกรรมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวเด็กปฐมวัย
2. แนวทางในการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการจัดกิจกรรมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กปฐมวัย ในวงรอบที่ 1 ได้แนวทาง 3 แนวทาง คือ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การดำเนินการใช้กิจกรรมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวเด็กปฐมวัย 3) การนิเทศติดตามผล
3. ผลการติดตามการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดกิจกรรมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแปน อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร หลังการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการทำให้ครูมีความรู้ความเข้าใจ มีความสามารถในการจัดทำแผนเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวเด็กปฐมวัย จะเห็นได้จากการประเมินแผนการจัดกิจกรรมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวเด็กปฐมวัยของผู้ร่วมวิจัย ในวงรอบที่ 1 อยู่ในระดับมาก และพัฒนาในวงรอบที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด ส่งผลถึงการจัดกิจกรรมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กปฐมวัยให้ลดลงได้ ซึ่งได้แก่ พฤติกรรมก้าวร้าวเด็กปฐมวัย ก่อนการพัฒนา ด้านพฤติกรรมทางกาย จะปรากฏว่าเด็กจะมีการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวมาก ได้แก่การตีหรือผลัก พบร้อยละ 42.85 การดึงผม พบร้อยละ 25.71 การแย่งของเล่น พบร้อยละ 54.28 การขว้างปาสิ่งของ พบร้อยละ 28.57 การหยิก พบร้อยละ 20.00 การกัด พบร้อยละ 14.28 การถุยน้ำลาย พบร้อยละ 14.28 การร้องไห้เสียงดัง พบร้อยละ 60.00 การนอนดิ้นกับพื้น พบร้อยละ 11.42 ด้านพฤติกรรมทางวาจาพบพฤติกรรมได้แก่ การตะโกนด่าว่าเสียงดัง ปรากฏว่าพบร้อยละ 37.14 และพูดคำหยาบ พบร้อยละ 42.85 หลังจากพัฒนาพฤติกรรมก้าวร้าวเด็กปฐมวัย ทั้ง 2 วงรอบแล้ว ผลปรากฏว่า พฤติกรรมก้าวร้าวทางกายลดลงเกือบหมด พฤติกรรมก้าวร้าวที่ยังพบว่ามีปัญหา ได้แก่การตีหรือผลัก การแย่งของเล่น พฤติกรรมร้องไห้เสียงดัง ตะโกนด่าว่าเสียงดังและพูดคำหยาบ แต่มีแนวโน้มจะลดลงไปเรื่อยๆ
Abstract
ABSTRACT
This study aimed to 1) investigate the current conditions and problems in organizing activities of the child caretakers to reduce aggressive behaviors of the early childhood children at the child development centers under NongPaen Sub-district Administration Organization, Charoensin District, Sakon Nakhon, 2) find out guidelines in developing the child caretakers’ competency in implementing activities to reduce aggressive behaviors of the children at the child development centers, and 3) monitor effects of guidelines in developing the child caretakers’ competence in conducting activities to reduce aggressive behaviors among the children at the child development centers. The target group consisted of the researcher and 9 co-researchers as well as 35 informants. Tools used to collect data comprised a questionnaire, a pre-test and a post-test, a form of satisfaction evaluation, a form of activity planning evaluation, and a form of behavior observation. Mean, standard deviation, percentage were employed to analyze quantitative data. Descriptive analysis was applied for qualitative data.
Findings were as follows:
1. The conditions and problems of the child caretakers in organizing activities to reduce the children’s aggressive behaviors at the child development centers under NongPaen Su-district Administration Organization could be concluded that:
1.1 The states of the activity application of the child caretakers to reduce aggressive behaviors of the children at first hand were not deep to the process of reducing aggressive behaviors of the children. Most of the child caretakers had never been trained on the practical training in conducting activities to reduce aggressive behaviors of the children.
1.2 The problems in implementing activities to reduce aggressive behaviors of the children at the centers among the child caretakers revealed that the child caretakers faced a lack of skills in
organizing activities to reduce aggressive behaviors of the children.
2. The guidelines of the child caretakers’ potential in applying activities to reduce aggressive behaviors of the children, in the first spiral, included 1) a workshop, 2) an application of activities to reduce aggressive behaviors of the children, and 3) coaching supervision.
3. The effects of the monitoring on the development of the child caretakers’ potentiality in implementing activities to reduce aggressive behaviors among the children at the child development centers, after the workshop, indicated that the child caretakers obtained knowledge, understanding and abilities in making plans to reduce aggressive behaviors of the children. This could be observed through the evaluation of plans in conducting activities to reduce aggressive behaviors among the children by the co-researchers, in the first spiral, at the high level. It was at the highest level in the second spiral. This affected the implementation of activities that could be seen in the reduction of aggressive behaviors. The behaviors that could be observed, before the development, included: The physical aggressive behaviors expressed at the high level by the children were as follows: hitting or pushing one another at 42.85 percent, pulling hair at 25.71 percent, poaching toys at 54.28 percent, throwing things at 28.57 percent, pinching others at 20.00 percent, biting others at 14. 28 percent, spitting at 14.28 percent, crying loudly at 60.00 percent, and lying on the floor squeezing at 11.42 percent. Regarding the verbal aggressive behaviors, it was determined that the loud shouting with dirty curses was at 57.14 percent along with the use of tough and dirty words was at 42.85 percent. After the development in both spirals, it was found that the children’s aggressive behaviors were reduced. The behaviors that were still observed included hitting and pushing one another, toy poaching, loud crying, as well as profanity. However, all of these aggressive behaviors seemed to be reduced little by little.
คำสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพครู, พฤติกรรมก้าวร้าว, เด็กปฐมวัยKeyword
Child Caretakers’ Competency in Organizing Activitiesกำลังออนไลน์: 48
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,455
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,654
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093