บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนอนุบาลโสธิญา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 2) หาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนอนุบาลโสธิญา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 3) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนอนุบาลโสธิญา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย จำนวน 8 คน 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 15 คน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นวางแผน (Planning) (2) ขั้นการปฏิบัติการ (Action) (3) ขั้นสังเกตการณ์ (Observation) และ(4) การขั้นสะท้อนกลับ (Reflection) โดยดำเนินการ 2 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบบันทึก แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบประเมินผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน แบบประเมินความพึงพอใจ แบบรายงานการปฏิบัติงาน แบบรายงานผลการพัฒนา และแบบประเมินความคิดเห็นของผู้ประเมินแผนการจัดประสบการณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและปัญหาในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนอนุบาลโสธิญา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 พบว่า สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในเป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2554 อยู่ในระดับดีมาก แต่พบปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการและกิจกรรมที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย ไม่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการประจำปี ขาดการมีส่วนร่วมในการประเมิน ขาดเครื่องมือในการประเมินตนเอง และครูยังขาดความสามารถในการวิเคราะห์ผู้เรียนและการจัดทำแผนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนอนุบาลโสธิญา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ประกอบด้วย1) การศึกษาดูงาน 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ3) การนิเทศติดตามผลและ 4) การอบรมเชิงปฏิบัติการ
3. ผลการติดตามและประเมินผลการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนอนุบาลโสธิญา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 พบว่า ครูมีความพึงพอใจในการศึกษาดูงานโดยรวมในระดับมากที่สุด คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.35 มีความพึงพอใจในการประชุมเชิงปฏิบัติการโดยรวมในระดับมากที่สุด คือ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.68 ผลการนิเทศติดตามผลทำให้การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนอนุบาลโสธิญา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 โดยรวมมีคุณภาพในระดับดีเยี่ยม เมื่อพิจารณาเป็นรายมาตรฐานพบว่า มีระดับคุณภาพดีเยี่ยม 10 มาตรฐานและระดับคุณภาพดีมาก 1 มาตรฐาน โดยมีตัวบ่งชี้ที่ 5.9 ครูมีวุฒิและความรู้ความสามารถในด้านการศึกษาปฐมวัยมีคุณภาพในระดับดี และมีความพึงพอใจในการอบรมเชิงปฏิบัติการโดยรวมในระดับมาก
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were: 1) to examine conditions and problems of school operation for internal quality assurance, 2) to establish the quidelines for developing school operation for internal quality assurance at Sotiya School, Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2, 3) to follow up and evaluate the development after the intervention. The target group involved a researcher and seven co-researchers, and 15 informants. This action research employed two spirals of a four-stage approach comprising planning, action, observation, and reflection. The research instruments were written records, a questionnaire form, an interview form, a survey form, an observation form, an assessment form for internal quality assurance operation, a satisfaction assessment form, a performance report form, an application report form, and a lesson plan assessment form. The data were analyzed through content analysis. The statistics employed were mean, percentage, and standard deviation.
The findings were as follows:
1. The conditions and problems of school operation for internal quality assurance of Sotiya School, Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2 revealed that: The school operation for internal quality assurance, followed within the rules and guidelines for internal quality assurance of Basic Education B.E. 2554, was at a good level of performance. However, the following problems were found: The implementation of the projects and activities did not achieve the desired goals, and were inconsistent with the school annual plan. There were also a lack of participation, and self-assessment tools in the assessment process. In addition, the teachers were not able to analyses the students individually as well as create a learner cantered lesson plan.
2. The proposed guidelines of school operation for internal quality assurance of Sotiya School involved a best practice visit, a meeting, a follow-up supervision, and a training workshop.
3. The effects after the intervention revealed that the teachers had a level of satisfaction, as a whole, at the highest level with a total mean score of 4.58, and a standard deviation of 0.35. The satisfaction toward the meeting, as a whole, was at the highest level with a total mean score of 4.68. The results after the follow-up supervision indicated that the school operation for internal quality assurance was consistent with the early childhood education measurement of Sotiya School, and as a whole, was at an excellent level. When considering in each standard measurement, ten indicators were at an excellent level and one indicator was at a very good level. The indicator 5.9, concerning teachers’ qualification, knowledge and competence in early childhood education, was at a good level. The satisfaction toward the training workshop, as a whole, was at a high level.
คำสำคัญ
การประกันคุณภาพภายในโรงเรียนKeyword
School Internal Quality Assuranceกำลังออนไลน์: 54
วันนี้: 2,334
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,533
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093