บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยของเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนเทศบาลเมืองมุกดาหาร ชุมชนนาโป-โคกสุวรรณ (2548) 2) หาแนวทางการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยของเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนเทศบาลเมืองมุกดาหาร ชุมชนนาโป-โคกสุวรรณ (2548) 3) ติดตามการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยของเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนเทศบาลเมืองมุกดาหาร ชุมชนนาโป-โคกสุวรรณ (2548) โดยดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วยการวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 7 คน ได้แก่ผู้วิจัยและกลุ่มผู้ร่วมวิจัยเป็นครูผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนเทศบาลเมืองมุกดาหาร ชุมชนนาโป-โคกสุวรรณ (2548) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบนิเทศ การตรวจสอบข้อมูลใช้หลักการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยของเด็กปฐมวัย มีดังนี้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยของเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนเทศบาลเมืองมุกดาหาร ชุมชนนาโป–โคกสุวรรณ (2548) ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาของของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยของเด็กปฐมวัยขาดการเป็นระบบขาดการบันทึกผลหลังการจัด ประสบการณ์และการประเมินผลการพัฒนาเด็กในแต่ละกิจกรรมทำให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ไม่มีประสิทธิภาพการพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาไม่สมกับวัย
2. แนวทางการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุข อนามัยของเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนเทศบาลเมืองมุกดาหาร ชุมชนนาโป-โคกสุวรรณ (2548) โดยใช้แนวทางการพัฒนา 2 แนวทาง คือ 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การนิเทศภายใน
3. ผลการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยของเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนเทศบาลเมืองมุกดาหาร ชุมชนนาโป-โคกสุวรรณ (2548) พบว่า 1) ผู้ร่วมวิจัยมีการแบ่งหน้าที่ในการศึกษามาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย ของกระทรวงศึกษาธิการและกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการส่งครูผู้ดูแลเด็กเข้าร่วมประชุมสัมมนาเพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กได้ทราบมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย 2) การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขอนามัยของนักเรียนปฐมวัย หมายถึง การที่รู้จักบำรุงรักษาดูแลร่างกาย จิตใจให้มีชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุขผลจากการนิเทศติดตามผล พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีการได้มีการประชุมร่วมจัดทำแผนปฏิบัติงาน การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็กปฐมวัย การติดต่อประสานงานกับกองการสาธารณสุขการประชาสัมพันธ์กับชุมชน 3) การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับสภาพจริงและเหมาะสมตามวัย จากการนิเทศติดตามผล พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีการบันทึกผลการพัฒนาการของนักเรียนตามสภาพจริง ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสุขอนามัยของนักเรียนส่งผลให้การดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็กปฐมวัย ดำเนินไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ
Abstract
ABSTRACT
This participatory action research aimed: 1) to examine conditions and the problems of the teachers in managing the learning activity for health promotion of early childhood at the pre-School Development Center of Mukdahan Municipality of Chumchon Napo-kok Suwan (2548), 2) to establish the guidelines for learning activity Management for health promotion of early childhood children, 3) to follow-up the effects after the intervention. The two spirals of a four-stage research approach was employed: planning, action, observation, and reflection. The seven co- researchers comprised a researchers, and teachers at the pre-School Development Center of Mukdahan Municipality of Chumchon Napo-kok Suwan (2548). The research instrument were a test, an observation form, an interview form, and a supervision form, The statistics used were percentage, mean and standard deviation. The data analyzed was presented in a descriptive format.
The findings were as follows:
1. The condition and problems of learning activity management for health promotion of early children revealed that: The school learning activity management did not meet the criteria and standard of the educational requirements based on the child Development Center under the Local Administrative Organization. There was a lack of children health assessment or student health records after the activities implemented. Therefore, the provided activities were ineffective and inadequately matched to age-appropriate development of children’ physical, mental, social and intellectual ability.
2. The proposed guidelines of learning activity management for health promotion of early childhood children at the pre-School Development Center of Mukdahan Municipality of Chumchon Napo-kok Suwan (2548) consisted of: 1) a workshop, and 2) Internal supervision.
3. The results after the intervention revealed that the co- researchers were assigned to study more about desirable characteristics of early childhood children on the standard criteria of Ministry of Education and the Local Administrative Organization, The teachers also had opportunities to attend the workshops and seminars for professional development, 2) From the internal supervision, the co- researchers held the meeting for establishing performance plans for children health enhancement, coordinating with the public health division, and creating the public relation to community, and 3) The results from the authentic assessment on the early childhood development showed that the co- researchers had written records of students’ development. As a result the problems and the proposed guidelines for student health promotion were systematical and effective.
Keyword
Child Caregivers on Application of Integrated Learning Experienceกำลังออนไลน์: 296
วันนี้: 1,408
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,994
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093