บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลหนองแปน สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแปน อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร 2) หาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลหนองแปน สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแปน อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร 3) ติดตามผลการพัฒนาการดำเนินงานทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลหนองแปน สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแปน อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ตามแนวคิดของเคมมิสและแม็กแท็กการ์ด (Kemmis and McTaggart) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนผล กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย ผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย จำนวน 10 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 33 คน แนวทางในการพัฒนา ประกอบด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการเฝ้าระวังและดูแลทันตสุขภาพ และการนิเทศติดตามผล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสังเกต และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีประสิทธิผล
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพ และปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาการดำเนินงานทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลหนองแปน สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแปน อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร
1.1 สภาพของการดำเนินงานทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลหนองแปน พบว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่มีแผนการดำเนินงานด้านทันตสุขภาพ ขาดอุปกรณ์ในการแปรงฟัน ครูไม่ให้ความสำคัญในกิจกรรม เด็กนักเรียนไม่ตระหนักถึงโทษของการไม่แปรงฟัน
1.2 ปัญหาของการดำเนินงานทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลหนองแปน พบว่า ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่เด็กเรื่องการแปรงฟัน ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการตรวจสภาวะช่องปากและฟัน
2. แนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลหนองแปน ประกอบด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดกิจกรรมเฝ้าระวังทันตสุขภาพ และการนิเทศติดตามผล
3. ผลการติดตามการพัฒนาการดำเนินงานทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลหนองแปน พบว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ชัดเจน ที่สามารถช่วยให้นักเรียนมีสภาวะอนามัยในช่องปากดีขึ้น และการนิเทศติดตามงานของ ทันตบุคลากรที่รับผิดชอบดูแลเป็นอย่างดี ด้านการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน การตรวจสุขภาพปากและฟันของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การจัดป้ายนิเทศ การให้ความรู้เบื้องต้นด้านทันตสุขภาพกับนักเรียนและผู้ปกครอง พบว่า ครู เจ้าหน้าที่ และผู้ปกครองให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้การดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ประสบความสำเร็จด้วยดี ซึ่งมีผลให้การดำเนินงานด้านทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลหนองแปนประสบผลสำเร็จมากขึ้น และนักเรียนสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were to 1) explove the conditions and problems of dental health care center in Nongpaen Subdistrict Administration Organization, Charoen Sin District, Sakon Nakhon Province 2) seek guidelines to improve the dental health care center in Nongpaen Subdistrict Administration Organization 3) follow up the dental health care center in Nongpaen Subdistrict Administration Organization. This study was the action research based on Kemmis’ and Mc Taggart’s guidelines comprising 4 steps: planning, action, observation and reflection. The target group of this research consisted of two groups including the researcher and 10 coresearchers and a group of 33 informants. Developmental guidelines were conducting a workshop, dental care activities and supervision. The instruments used comprised of observation form, a set of questionnaires, tests, interview form and an evaluation form. Content analysis was employed to analyze qualitative data. Statistics used to analyze quantitative data were percentage mean standard deviation and effectiveness Index.
The findings of this study were as follows:
1. The condition and problems of the dental health care center in Nongpaen Subdistrict Administration Organization Charoen Sin District, Sakon Nakhon Province.
1.1 Condition of the dental health care center in Nongpaen Sudistrict Administration Organization found that child care centers have no plans on oral health. Lack of teeth Teachers are featured in the event. Students are not aware of the penalty for non-brushing.
1.2 The issue of the dental health care center in Nongpaen found that the environment does direct UAI. The lack of coordination of the agencies involved. Parents caring for children's teeth. Lack of knowledge in the oral and dental conditions.
2. The development of the dental health care center in Nongpaen Subdistrict Administraion Oragnization Charoen Sin District, Sakon Nakhon Province. The research outlines the development. Training Workshop Oral health surveillance activities. Supervision and monitoring.
3. The results of research, development and monitoring of the dental health care center in Nongpaen. Subdistrict Administraion Oragnization Charoen Sin District, Sakon Nakhon Province. The Child Development Center is providing oral health promotion activities in child care centers are obvious. Who can help students have better oral health conditions. And supervision of dental personnel responsible as well. The brush their teeth after lunch. The oral health of the public health. The teacher The oral health knowledge with students and parents. The teachers, staff and parents to cooperate in an increase in this activity with great success. As a result, the operation of the dental health care center in Nongpaen more successful. And students can use in everyday practice effectively.
คำสำคัญ
การพัฒนาการดำเนินงานทันตสุขภาพKeyword
Development of Dental Health Managementกำลังออนไลน์: 91
วันนี้: 2,063
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,262
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093