บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 325 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนโรงเรียน จำนวน 45 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 88 คน ครูผู้สอน จำนวน 147 คน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test) ชนิด One-Way ANOVA) และ (t-test) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับสูงทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การสร้างแรงจูงใจให้กับตนเอง การตระหนักรู้อารมณ์ตนเอง การมีทักษะทางสังคม การควบคุมอารมณ์ของตนเอง และมีเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น
2. ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ที่มีสถานภาพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมไม่แตกต่างกัน
3. ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ที่มีประสบการณ์ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
4. ระดับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
5. ระดับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
6. ระดับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
7. ความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมและรายด้านกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน โดยรวมและรายด้านของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
8. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน โดยรวมของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ได้อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 คือ การสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเอง การตระหนักรู้อารมณ์ตนเอง ซึ่งตัวแปรทั้งสองมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 70.60 และมีความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ ±.13548
Abstract
ABSTRACT
The purposes of the study was to identify emotional quotient of school administrators affecting school effectiveness administration under the Office of the Secondary Educational Service Area 23, samples used in the study 325 participants of 45 school administrators , vice administrators 88, teachers 147, and Chairs of school boards 45. The instruments used for collection data was a set of rating scale questionnaire. The statistics for analyzing data were mean, standard deviation (Standard Deviation) analysis ANOVA (F-test) types One-Way ANOVA) and (t-test) and Multiple Regression Analysis. (Stepwise multiple regression analysis)
The findings were as follows:
1. The emotional quotient of school administrators affecting school effectiveness administration under the Office of the Secondary Educational Service Area 23. as a whole, was at the high level ranging from high to low :self – motivation, self – awareness, as social skill, self – regulation and emotional recognition in others.
2. The emotional quotient of school administrators affecting school effectiveness administration under the Office of the Secondary Educational Service Area 23. as a whole, had no statistical significance.
3. The emotional quotient of school administrators affecting school effectiveness administration under the Office of the Secondary Educational Service Area 23. with different experience, as a whole in each aspect, had no statistical significance.
4. The levels of school Administrative effectiveness of the school administrators, vice administrators, teacher and chairs of school boards under the Office of the Secondary Educational Service Area 23, as a whole in each aspect, were at the high rated.
5. The levels of school Administrative effectiveness of the school administrators, vice administrators , teacher and chairs of school boards under the Office of the Secondary Educational Service Area 23, as a whole in each aspect, showed no statistical significance.
6. The levels of school Administrative effectiveness of the school administrators, vice administrators, under the Office of the Secondary Educational Service Area 23 with different experiences, as a whole in each aspect, had no statistical significance.
7. The emotional quotient and school administrative effectiveness of the school administrators under the Office of the Secondary Educational Service Area 23. Obtained the relationship, as a whole in each aspect, at the .01 level of significance.
8. The predictive variables that could predict the effectiveness of the school administrators under the Office of the Secondary Educational Service Area 23 were correlated with the school administrative effectiveness at the .01 level of significance : self – motivation, self – awareness and coercive power that could predict at 70.60 and Standard Error Estimate of Prediction of ±.13548
คำสำคัญ
ความฉลาดทางอารมณ์, ประสิทธิผลKeyword
Emotional Quotient, Effectivenessกำลังออนไลน์: 332
วันนี้: 1,547
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 15,133
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093