...
...
เผยแพร่: 15 เม.ย. 2558
หน้า: 189-199
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 229
Download: 168
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโรงเรียนบ้านใหม่พัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Development of the Teachers’ competence on producimg computer-assisted instion at ban mai pattana School under the Office of Sakonnakhon Primary Educational Service Area 1
ผู้แต่ง
มานพ อินธิแสง, วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์, วีรเทพ เนียมหัตถี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research : AR) โดยมีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการศักยภาพครูในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3) เพื่อติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โรงเรียนบ้านใหม่พัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร  เขต 1 โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 14 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสภาพ ปัญหา แบบสอบถามความต้องการ แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบก่อนและหลัง แบบประเมินตนเองก่อนและหลัง แบบสังเกตพฤติกรรมครู แบบประเมินความพึงพอใจของครูในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบนิเทศภายใน แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การตรวจสอบส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพ ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โรงเรียนบ้านใหม่พัฒนา พบว่า ครูเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนน้อยครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์น้อย ปัญหาครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ไม่มีผู้เชี่ยวชาญช่วยเหลือ แนะนำและความรู้ความเข้าใจในการใช้โปรแกรม สื่อมัลติมีเดีย จากการสอบถามผู้ร่วมวิจัยมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเองโดยต้องการที่จะพัฒนาตนเองด้านการเรียนการสอน  ต้องการเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในเรื่องบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และให้มีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูด้านการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้ดำเนินการ 2 วงรอบ โดยวงรอบที่ 1 ผู้วิจัยได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาศักยภาพครูด้านการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้แก่ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การนิเทศภายใน ให้คำปรึกษา ตรวจสอบ ประเมินผล 3) ความพึงพอใจต่อการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วงรอบที่ 2 ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยทุกคนที่ได้รับการประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในด้านที่มีข้อบกพร่องในวงรอบที่ 1 เพื่อให้มีประสิทธิภาพไปในทางที่ดีขึ้นและการปรับปรุงบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนอีกครั้งหนึ่งและการนิเทศภายในด้านที่มีข้อบกพร่อง  

3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โรงเรียนบ้านใหม่พัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 1 ด้วยโปรแกรม Lecture Maker 2.0 พบว่า ในวงรอบที่ 1 ผลการประเมินการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ของครูผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการโดยกลุ่มผู้นิเทศปรากฏโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาการอบรม เนื้อหาที่ใช้ในการอบรมมีความเหมาะสม ได้รับการพัฒนาตามแนวทางที่ถูกต้อง และครูผู้ร่วมวิจัยโดยกลุ่มผู้นิเทศปรากฏโดยภาพรวมทั้ง 3 ด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.36) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีด้านที่ 3 คือ ด้านเทคนิคและการจัดการในบทเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม และผลในวงรอบที่ 2 การเปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ของครูผู้ร่วมวิจัย 14 คน ซึ่งได้รับการติดตามผลจากกลุ่มผู้นิเทศ ในด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยวงรอบที่ 2 สูงกว่าวงรอบที่ 1 (\bar{x} = 1.11) โดยมีค่าร้อยละเพิ่มขึ้นเท่ากับ ร้อยละ 22.2 สรุปได้ว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและการนำเสนอแบบมัลติมีเดียที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้อย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถสร้างแบบทดสอบให้คะแนนและประเมินผลได้ในตัวง่ายต่อการนำใช้งาน และเทคนิคการจัดรูปแบบในบทเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำมาเป็นสื่อการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีและส่งผลให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this Action Research were to 1) investigate current state and problems needs on Teachers’ Potential in the production of Computer Assisted Instruction for learning, 2) designate means a development of the Teachers’ Potential in the production of Computer Assisted Instruction And 3) monitoring a development of the Teachers’ Potential in the production of  Computer Assisted InstructionBan Mai Panthana School under the Office Of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1. The target group consisted of 2 group were : 1) the researcher 14 2) The respondent – a total of 50 persons. The instruments used for data collection were : forms for investigating the state and problems, an interview forms, comprised questionnaires on needs, the pre-test and the post-test, observation forms, an assessment form of before and after, a set of questionnaires, forms for recording supervison, a form of students’ behavior observation and an interview regarding means of students’ in the production of  Computer Assisted Instruction. Statistics used for data analysis were percentage, average, and standard deviation. Used for quantitative data analysis

The findings of this study were:

1. The current status problems, and needs of the teachers’ potential in the production of computer assisted instruction at Ban Mai Panthana School under the Office Of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 found that the CAI has produced quite a few. The teachers lacked of knowledge and lacked of motivation to improve the teaching process. The teachers lacked of skills, knowledge and understanding of the teaching and learning using CAI was found that teachers do not have the understanding to use in teaching. The teacher lacked of motivation and lacked of skills, experience. The teachers Lacked of knowledge in the production of computer assisted instruction. According to a joint research is the need to develop themselves by wanting to organize a workshop on the production of computer assisted instruction. The executive Administrators to support the production of computer assisted instruction. Schools also need people with expertise of manufacturing CAI.

2. The ways to develop the teachers’ potential in the production of  computer assisted instruction has two loop by loop 1, the researcher has determined the development potential teachers in the production of computer assisted instruction were : 1) training 2. ) supervision consultancy monitor, evaluate, 3) Satisfaction with the production of computer assisted instruction.compile a media manufactured a check quality to teaching the students and the supervision to improve efficiency even more, round 2: researchers and colleagues who have been assessed lesson in the deficiencies in the 1st round so effectively in a better way and improve the CAI again and supervision of the defect.

3. Regarding the follow-up and evaluation of the teachers’ potential in the production of computer assisted instruction found in the first round of evaluation capacity development of teachers in the production of computer assisted instruction. Of teachers who attended the training by a group of supervisors were satisfied with the overall level possible. Participants in the training and better understanding of the training material. The course content is appropriate. The teachers were developed by the correct approach. The participant indicated the overall supervision by the 3 sides is appropriate at a high level (\bar{x} = 4.36) when considering Article 3 was found to have the technical and management lessons. There are an average to below average overall and results in the 2nd round to compare the quality of the production of computer assisted instruction. The participants were 14 teachers who have been assessed supervision of group supervision. In the field with an average lower than average and found that average round 22.2

คำสำคัญ

การผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

Keyword

competence on producimg computer-assisted instion

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093