บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสว่างแดนดิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร เขต 23 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสว่างแดนดิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร เขต 23 3) เพื่อติดตามผลการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสว่างแดนดิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร เขต 23 การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research : AR) 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ กลุ่มผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ผู้วิจัยและครูที่ปรึกษาโรงเรียนสว่างแดนดิน ปีการศึกษา 2557 จำนวน 60 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 38 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 5 คน ตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 3 คน ตัวแทนผู้ปกครอง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบ แบบสังเกต แบบประเมิน และบันทึกการประชุม การวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานโดยวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนก่อนการพัฒนา พบว่า ครูที่ปรึกษาไม่เข้าใจในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูที่ปรึกษาขาดความเอาใจใส่ดูแลในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ขาดการประสานงานระหว่างครูที่ปรึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนยังไม่มีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเท่าที่ควร ขาดการนิเทศภายในที่ต่อเนื่องและเป็นระบบในการให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2. การพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดำเนินการโดย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การประชุมปรึกษาหารือ 3) การนิเทศภายใน พบว่า ครูที่ปรึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการสูงกว่าก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการ อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.1
3. การติดตามผลการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสว่างแดนดิน พบว่า ครูที่ปรึกษาทุกคนมีความรู้ความเข้าใจสามารถดำเนินงานตามขั้นตอนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบมากขึ้น มีผลการปฏิบัติรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 4.00 จึงนำมาพัฒนาในวงรอบที่ 2 ได้แก่ ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยใช้การประชุมปรึกษาหารือ และการนิเทศภายใน สรุปผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.24 ดังนั้นครูที่ปรึกษาสามารถจัดกิจกรรมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนได้รับการดูแล และช่วยเหลือตรงตามสภาพปัญหาและความต้องการ
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were 1) investigate conditions and problems of the school student assistance system at Sawang Daen Din School under the Office of the Secondary Educational Service Area 23, 2) establish guidelines for the school operations of the student assistance system, and 3) follow-up and evaluate the development of the school operations of the student assistance system The research employed two spirals of four-stage action research consisting of planning, action observation and reflection. The co- researchers comprised of the researchers and fifty-nine classroom teachers at Sawang Daen Din School in the academic 2014. The 38 informants comprised five administrators, three representatives of school boards, 30 representatives of parents. The research instruments were an interview form, a test, and an observation form, an assessment form, and minutes of meetings, Data were analyze by content analysis as well as statistical tools, namely standard deviation, percentage, and mean.
The findings were as follows:
1. The conditions and problems of the school student assistance system before the development revealed that: the classroom teachers lacked knowledge and understanding about the student assistance system. In addition, they were inattentive to the operations of the student assistance system, and did not work cooperatively with other classroom teachers and personnel in charge in assisting the students. The parental and community involvement was limited; moreover, internal supervision was not carried out continuously and systematically.
2. The development of the school operations of the student assistance system consisted of three sessions: 1) A workshop, 2) A school meeting,3) Internal supervision. The teachers’ knowledge and understanding about the students assistance system increased; the post-workshop mean scores were higher than the pre-workshop mean scores at the .01 statistical significance level.
3. The results from the follow-up and evaluation period revealed that all classroom teachers gained more knowledge and understanding and were able to operate the student assistance system continuously and systemically. The overall performance was at a high level. When considering each aspect, the school operations of the student support and development aspect, and prevention and problem solving aspect had mean scores below 4.00. Therefore, the second spiral was conducted through school meeting and internal supervision. The mean score of overall performance had increased by 0.24. In conclusion, the classroom teachers were able to operate the student assistance system effectively, and also had the guidelines in operating the student assistance system which met the student conditions, problems and needs.
คำสำคัญ
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, การวิจัยเชิงปฏิบัติการKeyword
Student Assistance system, Action Researchกำลังออนไลน์: 173
วันนี้: 1,277
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,863
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093