บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการมีวินัยของนักเรียนโรงเรียนสว่างแดนดิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร เขต 23 2) เพื่อหาแนวทางการเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนสว่างแดนดิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร เขต 23 และ 3) เพื่อติดตามผลการเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนสว่างแดนดิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร เขต 23 โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ตามแนวคิดของเคมมิส และแม็กแท็กการ์ท (Kemmis and McTaggart) โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย ผู้วิจัย หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 6 คน หัวหน้างานส่งเสริมความประพฤตินักเรียน หัวหน้าสำนักงานกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน หัวหน้าสำนักงานกลุ่มบริหารงานวิชาการ หัวหน้าระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน หัวหน้าครูเวรประจำวัน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารวิชาการ รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงานทั่วไป รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงานบุคคล รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารแผนงานและงบประมาณ ตัวแทนผู้ปกครองเครือข่าย ตัวแทนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 120 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Random sampling) จากกลุ่มนักเรียนที่เรียนกับกลุ่มผู้ร่วมวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินผลกิจกรรม การตรวจสอบข้อมูลและนำเสนอผลการวิจัยค้นคว้าโดยวิธีการบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพและปัญหาการมีวินัยของนักเรียน โรงเรียนสว่างแดนดิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร เขต 23 สภาพการเสริมสร้างวินัยนักเรียน โรงเรียนสว่างแดนดิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร เขต 23 พบว่า นักเรียนมีพื้นฐานด้านวินัยความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อโรงเรียนค่อนข้างน้อย คณะครูและนักเรียนมีความตระหนัก ที่จะได้รับการเสริมสร้างวินัยด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง และวินัยด้านความรับผิดชอบต่อโรงเรียนให้กับนักเรียน
2. แนวทางการเสริมสร้างวินัยนักเรียน โรงเรียนสว่างแดนดิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร เขต 23 การดำเนินการพัฒนาการเสริมสร้างวินัยด้านความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อโรงเรียนของนักเรียนโรงเรียนสว่างแดนดิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร เขต 23 โดยใช้แนวทางประชุมสัมมนา น้ำดีแทนที่น้ำเสีย การมีส่วนร่วม และทำดีทุกวันทำประจำทำต่อเนื่อง เมื่อพัฒนาครบทั้ง 2 วงรอบแล้ว พบว่านักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีวินัยความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อโรงเรียนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งการแต่งกายตามปกติและการแต่งกายตามกิจกรรมตรงตามวันที่โรงเรียนกำหนดได้ถูกต้อง ห้องเรียนและบริเวณที่มอบหมายสะอาดเรียบร้อย ไม่มีขยะ
3. ผลการเสริมสร้างวินัยนักเรียน โรงเรียนสว่างแดนดิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร เขต 23 ผลการดำเนินการเป็นดังนี้
3.1 วินัยด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง พบว่านักเรียนมีวินัยด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง รู้และเข้าใจ กฎ ระเบียบของโรงเรียนมากขึ้น สามารถปฏิบัติตนและแต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน มีพฤติกรรมแต่งกายดีขึ้นโดยแต่งกายถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียนทุกประการจากศีรษะจรดรองเท้า อ่อนน้อม รู้จักการทำความเคารพครู และเคารพสิทธิของผู้อื่น บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินการพัฒนาวินัยด้านความรับผิดชอบต่อตนเองในด้านการแต่งกาย
3.2 วินัยด้านความรับผิดชอบต่อโรงเรียน พบว่านักเรียนมีความรับผิดชอบต่อโรงเรียน เขตพื้นที่รับผิดชอบ และบริเวณอาคาร การดูแลห้องเรียนให้สะอาดเรียบร้อยและพื้นที่ที่แบ่งให้รับผิดชอบ พบว่าบริเวณห้องเรียนสะอาด จัดโต๊ะเก้าอี้เป็นระเบียบ ไม่มีเศษขยะ บริเวณสวนหย่อมที่ให้รับผิดชอบสะอาดสวยงามดูแลต้นได้อย่างดีเยี่ยม เป็นไปตามปกติวิสัยที่ต้องการ
Abstract
ABSTRACT
This research aimed to 1) Study the state and problem of enhancing discipline of Saeangdaendin schook student, the Office Secondary Education Service Area 23 2) determine the way to enhance discipline of Sawangdaendin School student, the Office of Secondary Education Service Area 23 3) study and evaluate of enhancing discipline of Sawangdaendin school student, the Office of Secondary Education Service Area 23 by using the Action Research through Kemmis and Me Taggart’s Each cycle comprised : planning,action,observation and reflection. Target groups comprised: a researcher, the heads of Matthayomsuksa Level 1-6 fatally of 6, the head of enhancing student behavior group, the head of Student’s Affair Office, the head of Student caring and Supporting Operation System, the head of Teacher. The group of people to provide information consisted of the director, deputy director of aeademic Affairs unit, deputy director of general Affairs unit, deputy director of personal administration unit and deputy director of budget unit
The preventative of student’s parents network, the representative of Mathayomsuksa 1-6 Students totally 120, gained by cluster random sampling from students who studied with the joint study group. Tool used to collect data were student observation, form interview student form record of physical activity form. Data were investigated. The research findings were presented descriptive study.
คำสำคัญ
การเสริมสร้างวินัยนักเรียนKeyword
Develop Enhance Clothing In Studentsกำลังออนไลน์: 79
วันนี้: 1,944
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,143
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093