บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการผลิตสื่อการเรียนรู้โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น โรงเรียนบ้านอูนดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 2) กำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนในการผลิตสื่อการเรียนรู้โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น โรงเรียนบ้านอูนดง และ 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนในการผลิตสื่อการเรียนรู้โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น โรงเรียนบ้านอูนดง โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ร่วมวิจัย จำนวน 17 คน และผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยจำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการนิเทศภายในและแบบประเมินผล ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและปัญหาในการผลิตสื่อการเรียนรู้โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น โรงเรียนบ้านอูนดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 มีดังนี้
1.1 ด้านสภาพการผลิตสื่อการเรียนรู้โดยใช้วัสดุในท้องถิ่นของครูผู้สอน โรงเรียนบ้านอูนดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 พบว่า ครูมีการผลิตและใช้สื่อการเรียนรู้โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อที่ผลิตจากวัสดุในท้องถิ่นอยู่ในระดับน้อย และการผลิตสื่อการเรียนรู้โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น ยังไม่สอดคล้องกับหลักสูตรเท่าที่ควร การศึกษาดูงาน/ประชุม/อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนในการผลิตสื่อการเรียนรู้ฯ อยู่ในระดับน้อย รวมถึงผู้เรียนก็ไม่มีความสนใจในการผลิต การใช้ และการเก็บรักษาสื่อการเรียน ส่งผลให้ สภาพการผลิตสื่อการเรียนรู้โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น อยู่ในระดับ ปานกลาง
1.2 ด้านปัญหาการผลิตสื่อการเรียนรู้โดยใช้วัสดุในท้องถิ่นของครูผู้สอน โรงเรียนบ้านอูนดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 พบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับกระบวนการสร้างและวิธีการผลิตสื่อการเรียนรู้โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น และขาดทักษะในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ รวมถึงโรงเรียนไม่มีนโยบายชัดเจนเกี่ยวกับการผลิตสื่อการเรียนรู้โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น ขาดการนิเทศ กำกับ ติดตามอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ รวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการผลิต ใช้และเก็บรักษาสื่อการเรียนอยู่ในระดับน้อย ส่งผลให้ ปัญหาการผลิตสื่อการเรียนรู้โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น อยู่ในระดับ มาก
2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนในการผลิตสื่อการเรียนรู้โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น ประกอบด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการ การดำเนินการผลิตและการใช้สื่อ และการนิเทศภายใน
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนในการผลิตสื่อการเรียนรู้โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น ทั้ง 2 วงรอบ พบว่า การใช้แนวทางอบรมเชิงปฏิบัติการ ทำให้ครูผู้สอน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อเพิ่มขึ้น การดำเนินการผลิตและใช้สื่อ ทำให้ครูผู้สอนมีทักษะในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประกอบสื่อ การเรียนรู้โดยใช้วัสดุท้องถิ่นได้มากขึ้นและการนิเทศภายใน ทำให้ครูผู้สอนมีประสบการณ์ในการผลิตสื่อได้อย่างมีคุณภาพ มีความมั่นใจในการใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในบทเรียนหรือกิจกรรมต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น และรู้สึกพึงพอใจกับการเรียนด้วยสื่อจากวัสดุในท้องถิ่น และอยากจะเรียนด้วยสื่อจากวัสดุในท้องถิ่นกับสาระการเรียนรู้อื่น ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือว่าเกิดจากการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนในการผลิตสื่อการเรียนรู้โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น โดยครูสามารถผลิตสื่อ การเรียนรู้โดยใช้วัสดุในท้องถิ่นที่มีคุณภาพอย่างน้อยคนละ 1 ชิ้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were to 1) investigate conditions and problems in the production of learning media using local materials at Ban Un-Dong School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2. 2) Set the guidelines for developing the teachers’ potentiality in the production of learning media using local materials at Ban Un-Dong School and 3) examine the effect of the potentiality teachers’ development in the production of learning media using local materials at Ban Un-Dong School. The research employed the two spirals of action research. Each spiral involved four stages: planning, action, observation and reflection. The target group of this research consisted of the 17 co-researchers and 36 the informants. The instruments used in this research were a set of questionnaire, an interview form. Statistics used for analysis data were percentage, mean and standard deviation.
The findings of this research were as follows:
1. The conditions and problems in the production of learning media using local materials at Ban Un-Dong School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2, were as follows:
1.1 The conditions of learning materials production using local materials for teachers at Ban Un-Dong School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2. Found that the teacher have production and use learning materials using local materials and write lesson plans using materials produced from local materials at a low level. Production of learning materials using local materials are not consistent with the curriculum as it should. The study / conference / workshop to develop for potential of teachers in the production of learning materials at a low level. Including the students don't have interest in the production, use and storage of learning materials, resulting in the production of learning materials using local materials is moderate.
1.2 Problems in the production of learning media using local materials of teachers at Ban Un-Dong School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2. Found that the teachers are lack of knowledge and understanding. On the process of creating and producing learning materials using local materials. And lack the skills to write lesson plans. Include the school does not have a clear policy regarding the production of learning materials using local materials, lack of supervision, monitoring continuously and systematically. Include the participation of the students in the production, use and storage of learning materials was at a low level, resulting with the problem in production of learning materials using local materials was at the high level.
2. The guidelines for developing the teachers’ potentially in producing learning media using local materials consisted of the workshop, the production and learning media application and supervision.
3. The result of developing potentiality the teachers in the production of learning materials using local materials in 2 cycles. Found that using workshop made the teachers have the knowledge and understanding increased about production and use of media. Operations for manufacturing and use the media made the teachers have the skills to writing the lesson plan. They can held the teaching activities by using more local learning materials. And Supervision made the teachers have experience in media production with quality. Made the teachers have the confident in using the media effectively. As a result, students have the knowledge, understanding of the lesson or activity even better. And satisfaction with the learning by using the materials from local things and would like to learn by using local materials with other group learning. All of which is caused by developing potentiality the teachers in the production of learning materials using local materials. The teachers can product learning materials by using local materials efficiently at least 1 person 1 work effectively.
คำสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพครู, การผลิตสื่อ วัสดุในท้องถิ่นKeyword
Teachers’ Competence, Learning Materialsกำลังออนไลน์: 76
วันนี้: 1,852
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,051
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093