บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสกลนคร 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสกลนคร จำแนก ตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) หาแนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสกลนคร ปีงบประมาณ 2556 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษา จังหวัดสกลนคร จำนวน 350 คน จำแนกเป็นนักวิชาการศึกษา จำนวน 80 คน ครูผู้ดูแลเด็กจำนวน 80 คน และผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 190 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยศึกษาแนวคิดจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ที t-test และ F-test (One-way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า
1. บุคลากรทางการศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสกลนครมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม 4 ด้านเงินเดือนและผลประโยชน์เกื้อกูล ด้านความต้องการความสำเร็จ ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน และด้านความรู้สึกมั่นคงในการทำงาน ตามลำดับ
2. บุคลากรทางการศึกษาที่มีตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสกลนคร รวม 4 ด้าน คือ ด้านเงินเดือนและผลประโยชน์เกื้อกูล ด้านความต้องการความสำเร็จ ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน และด้านความรู้สึกมั่นคงในการทำงาน
Abstract
ABSTRACT
examine the Job performance motivation of the educational personnel under Sakon Nakhon Local Administrative Organization, 2) compare the job performance motivation of the educational personnel classified by status, educational qualifications, working experiences and jurisdictions, 3) find out guidelines for developing the job performance motivation of the educational personnel in the fiscal year 2013. The samples consisted of 350 educational personnel classified as 80 educators, 80 early childhood teacher as well as 190 teacher assistants. The instrument used in collecting data was a set of questionnaires made by the researcher. Statistics used were percentage, mean, standard, t- test (Independent Samples) and F-test (One-way ANOVA)
The Findings were as follows:
1. The educational personnel under Sakon Nakhon Local Administrative Organization obtained the job performance motivation at a high level in general. When separately considered, it was found that the four aspects on the job performance motivation of the educational personnel were under the average mean scores: salary and mutual benefits, achievement needs, career advancement as well as career security respectively.
2. The educational personnel with different status, educational qualifications. working experiences as well as jurisdictions reported the perception toward the job performance motivation as a whole and in each aspect at the .01 level significance.
3. The researcher proposed some guidelines for developing the job performance motivation among the educational personnel under Sakon Nakhon Local Administrative Organization in the following 4 aspects: salary and mutual benefits, achievement needs, career advancement as well as career security.
คำสำคัญ
แรงจูงใจ, การปฏิบัติงานKeyword
Performance, Motivationกำลังออนไลน์: 80
วันนี้: 2,081
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,280
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093