บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กวัยเตาะแตะ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลนาเพียง อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย 3) ติดตามผลการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 12 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 66 คน ได้แก่ 1) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลนาเพียง จำนวน 4 คน 2) ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย จำนวน 60 คน 3) วิทยากร จำนวน 2 คน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก คือ 1) ขั้นการวางแผน 2) ขั้นการปฏิบัติการ 3) ขั้นการสังเกตการณ์ และ 4) ขั้นการสะท้อนกลับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 6 ประเภท ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบ 2) แบบประเมินแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 3) แบบประเมินจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 4) แบบสังเกต 5) แบบสัมภาษณ์ 6) แบบประเมินตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพและปัญหาของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
1.1 สภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูผู้ดูแลเด็กส่วนใหญ่จัดประสบการณ์การการเรียนรู้ตามแผนการจัดประสบการณ์ที่กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ โดยไม่สอดแทรกการสอนเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ไม่มีการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออกในทางสร้างสรรค์
1.2 ปัญหาการจัดประสบการณ์ ครูผู้ดูแลเด็กยังขาดความความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ครูขาดการบันทึกผลการจัดประสบการณ์ที่เป็นปัจจุบัน ไม่มีบันทึกลักษณะพฤติกรรมของเด็กที่เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข ส่งผลให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การนิเทศแบบคลินิก
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
3.1 ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
3.2 ครูผู้ดูแลเด็กสามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ได้
3.3 ครูผู้ดูแลเด็กสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เด็กปฐมวัยในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลนาเพียง อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการมีความคิดสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมากที่สุด สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ปกครองต่อพฤติกรรมที่แสดงออกในด้านความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
ABSTRACT
The purposes of This research were: 1) to explore condition and problems of learning experiences management for creative thinking enhancement of early childhood at the Self – Help Child Care Center under NaPhiang Subdistrict Administration Organization, Kusuman District, Sakon Nakhon Province, 2) to establish the guidelines for developing teachers’ competence in managing learning experience for creative thinking enhancement of early childhood, and 3) to follow up and evaluate the development after the intervention. The target group involved a 12 co-researchers and 66 informants comprising four stakeholders who involved in educational management of Naphiang Subdistrict Administration Organization, 60 parents, and two resource persons. This action research employed two spirals of a four-stage approach comprising planning, action, observation, and reflection. The research instruments were a test, a lesson plan assessment form, an assessment form for learning experience management, an observation form, an interview form, and a self-assessment form. The statistics employed were mean, percentage, and standard deviation.
The findings were as follows:
1. The conditions and problems of the learning experiences management for creative thinking enhancement of early childhood
1.1 Although the teachers followed the learning experience management in congruent with the guidelines developed by Local Administrative Organization, the integration of creative thinking was not fully implemented. There was also no provision of learning atmosphere to encourage the children’s creativity expression. In terms of problems
1.2 The teachers reported their limited knowledge, understanding, and skills in managing learning experience. In addition, the teachers did not write post teaching remark and had no written record for children’s problematic behaviors. As a result, these features produced ineffective learning experience management.
2. The proposed guidelines of developing the teachers’ competence in managing learning experience for creative thinking enhancement for early childhood involved 1) training workshop 2) clinic supervision.
3. The effects after the intervention revealed that
3.1 participating teachers gained knowledge and understanding about early childhood’s creative think enhancement
3.2 participating teachers were able to write lesson plans concerning learning experience management for creative thinking enhancement
3.3 participating teachers were able to applied their knowledge into practice effectively. Therefore, children at Naphiang Subdistrict administration Organization demonstrated their creative thinking behaviors at the highest level. Consequently, the parent satisfaction was also at a the highest level.
คำสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็ก, การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ , การเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยKeyword
Development of Teachers’ Competence, Learning Experience Management, Creative Thinking Enhancement of Early Childhood.กำลังออนไลน์: 76
วันนี้: 2,170
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,369
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093