บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหา เกี่ยวกับวินัยนักเรียน 2) หาแนวทางพัฒนาวินัยนักเรียน 3) ติดตามผลของการพัฒนาวินัยนักเรียน โรงเรียนบ้านดงหม้อทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้ร่วมวิจัย จำนวน 17 คน ประกอบด้วย ผู้วิจัย ครูหัวหน้างานปกครอง ครูที่ปรึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 จำนวน 15 คน ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 70 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน นักเรียนกลุ่มเป้าหมายการพัฒนา ที่มีพฤติกรรมกระทำผิดวินัยของโรงเรียน โดยเป็นข้อมูลที่ได้จากการบันทึกของฝ่ายปกครองประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 33 คน ผู้ปกครองนักเรียนกลุ่มเป้าหมายการพัฒนา จำนวน 33 คน และ ตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 2 คน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ตามแนวคิดของเคมมิส และแม็คแท็กการ์ท (Kemmis and McTaggar) โดยดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การวางแผน (Planning) ขั้นที่ 2 การปฏิบัติการ (Action) ขั้นที่ 3 การสังเกตการณ์ (Observation) และขั้นที่ 4 การสะท้อนกลับ (Reflection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบสังเกตพฤติกรรม แบบบันทึกรายงานการประชุม และ แบบบันทึกการนิเทศภายในแบบการประชุมนิเทศ
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพ และปัญหา เกี่ยวกับวินัยนักเรียน โรงเรียนบ้านดงหม้อทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 พบว่า 1.1 สภาพเกี่ยวกับวินัยนักเรียน ส่วนหนึ่งมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ในด้านวินัยที่บกพร่องชัดเจน ได้แก่ 1) ด้านการแต่งกายไม่ถูกต้องตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับของโรงเรียน 2) ด้านการทำความสะอาดห้องเรียน ไม่ร่วมกิจกรรมตรงตามเวลา 3) ด้านการทำความสะอาดเขตพื้นที่รับผิดชอบ หลบเลี่ยงการทำความสะอาด 4) ด้านการแสดงความเคารพ ขาดความอ่อนน้อมถ่อมตน และ 5) ด้านการประหยัด เขียนสมุดหน้าเว้นหน้า ชอบฉีกสมุด 1.2 ปัญหาเกี่ยวกับวินัยนักเรียน ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านโรงเรียน การดำเนินงานด้านวินัยนักเรียนยังขาดความร่วมมือจากบุคลากรในโรงเรียนอย่างจริงจัง ครูที่รับผิดชอบยังไม่มีคู่มือการพัฒนาวินัยนักเรียน ที่ใช้ในการดำเนินงานเป็นแนวทางเดียวกัน และการปฏิบัติงานด้านวินัยนักเรียนขาดความเชื่อมโยงการมี ส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 2) ปัจจัยทางครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวไม่ค่อยดี ผู้ปกครองต้องไปทำงานต่างจังหวัด และ 3) ปัจจัยด้านนักเรียน ไม่ตระหนักเห็นความสำคัญของการมีวินัย ขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน
2. แนวทางการพัฒนาวินัยนักเรียน โรงเรียนบ้านดงหม้อทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ 1) การประชุมแบบมีส่วนร่วม 2) การศึกษาดูงาน 3) กิจกรรมการพัฒนาวินัยนักเรียน ได้แก่ 3.1) กิจกรรมรณรงค์นักเรียนแต่งกายและปฏิบัติตนตามระเบียบของโรงเรียน 3.2) กิจกรรมการประกวดห้องเรียนสะอาด 3.3) กิจกรรมโรงเรียนสะอาด 3.4) กิจกรรมยิ้มไหว้ทักทายเป็น 3.5) กิจกรรมธนาคารโรงเรียน 3.6) กิจกรรมประกวดยอดนักประหยัดและ 4) การนิเทศภายในแบบการประชุมนิเทศ เพื่อพัฒนาวินัยนักเรียนที่มีพฤติกรรมกระทำผิดวินัยของโรงเรียน จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรับผิดชอบ ได้แก่ ด้านการแต่งกาย ด้านการรักษาความสะอาดห้องเรียน และด้านการรักษาความสะอาดเขตพื้นที่รับผิดชอบ 2) ด้านการแสดงความเคารพ 3) ด้านการประหยัด
3. ผลการติดตามการพัฒนาวินัยนักเรียน โรงเรียนบ้านดงหม้อทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 พบว่า จากการดำเนินงานการพัฒนาวินัยนักเรียน ช่วยทำให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านวินัยดีขึ้นมาก จากผลหลังการพัฒนาวินัยนักเรียนสูงกว่าก่อนการพัฒนาวินัยนักเรียน
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were to 1) investigate the current conditions and problems of the students’ disciplines, 2) find out guidelines for developing the students’ disciplines, and 3) monitor the development of the students’ disciplines at Ban Dong Mo Thong School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3. The target groups were 17 co-researchers consisting of : the researcher, head of disciplinary affairs, 15 classroom teachers of Prathom Suksa 4-6 and Mathayom Suksa 1–6. The informants were composed of 70 participants comprising: the school director and deputy school director, 33 students with risk–taking behaviors, 33 representatives from parents/guardians from each class using purposive sampling, along with 2 school committee members. The research employed an action research based on the concept of Kemmis and McTaggart consisting of four stages: planning, action, observation, and reflection. The instruments used in this research were a form of interview, a form of behavioral observation, a questionnaire, a form of behavioral assessment, a form of meeting minutes, and a form of internal supervision record.
The findings were as follows:
1. The effects of the current conditions and problems of the students’ disciplines at Ban Dong Mo Thong School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3 revealed that : 1.1) In case of the students’ disciplines as perceived by the co-researchers, it was found that some of the students’ behaviors were not desirable. Those with significant features were: 1) violation of the dress code based on the rules and regulations of the school, 2) cleanliness in the classroom, 3) cleanliness of area of responsibility, 4) a lack of respect and humility to the seniors among the students, and 5) frugality. 1.2) In terms of the students’ disciplinary problems, it was determined that : 1) According to the school factors, it was found that there was a lack of earnest cooperation from the school personnel in implementing the students’ disciplinary activities; the personnel in charge had no manuals in operating students’ disciplines in the same line of regulations; and there was no participation in implementing the activities from the communities. 2) In case of the family factors, it was found that the parents had to go and seek for jobs far away from home; 3) In case of the student factors, it was also found that the students did not realize the importance of disciplines and faced a lack of motivation on how to behave according to the rules and regulations of the school.
2. The proposed guidelines for developing the students’ disciplines at Ban Dong Mo- Thong School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3 included : 1) a cooperative meeting, 2) a study tour, 3) activities for developing the students’ disciplines including the following activities : 3.1) Dress code campaign and school rules and regulations obedience, 3.2) clean classroom contest,3.3) Clean school premise, 3.4) smiling, respecting and greetings, 3.5) school bank 3.6) contest on "The Most Frugal Student",and 4) Internal supervision for developing the students’ disciplines with delinquent behaviors in 3 aspects including: 1) the responsibility, including the dress code, cleanliness in the classroom and maintaining a clean area of jurisdiction, 2) paying respect, and 3) frugality.
3. The results of the monitoring of the students’ discipline development at Ban Dong Mo Thong School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3 revealed that the implementation of the development of the students’ disciplines to help make the students obtain the better desirable features and better disciplines was included. The effects after the implementation were higher than those before the application.
คำสำคัญ
การพัฒนาวินัยนักเรียนKeyword
Development of Students’ Disciplinesกำลังออนไลน์: 89
วันนี้: 1,906
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,105
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093