...
...
เผยแพร่: 15 เม.ย. 2558
หน้า: 97-109
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 283
Download: 182
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนบ้านคำภูทองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
The Development of Mathematice Teachers’ Competency in Instructional Management Based on Learner Centred Approach at Bankumputong School under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3
ผู้แต่ง
วัชระ แง่พรหม, วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์, อนุรักษ์ อุปพงษ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของการจัดการเรียนรู้ของครู ที่สอนวิชาคณิตศาสตร์โรงเรียนบ้านคำภูทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านคำภูทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 3) เพื่อติดตามผลการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านคำภูทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3

การวิจัยในครั้งนี้ใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมี 4 ขั้น คือ การวางแผน การปฏิบัติการ  การสังเกต และการสะท้อน กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูโรงเรียนบ้านคำภูทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3  ปีการศึกษา 2554 จำนวน 6 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกการประชุม แบบสังเกตแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบสัมภาษณ์  แบบสอบถาม และแบบนิเทศ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการวิจัย พบว่า

1.  สภาพและปัญหาของการจัดการเรียนรู้ของครูที่จัดเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านคำภูทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 เป็นดังนี้ สภาพในการจัดการเรียนรู้ของวิชาคณิตศาสตร์นั้น ครูผู้สอนจะใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย มีสื่อประกอบการสอนสม่ำเสมอ มีการวัดและประเมินผลโดยเน้น การประเมินจากสภาพจริง และมีการปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ ค่าเฉลี่ยรวมของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เท่ากับ 2.35 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มต่ำของค่าเฉลี่ยระดับชาติ โดยนักเรียนส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ระดับ 2.5 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 26.47 ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพการสอนและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีค่าเฉลี่ยของผลสำเร็จคิดเป็นร้อยละ 66.7 ระดับคุณภาพอยู่ในเกณฑ์พอใช้ เท่านั้น ทั้งนี้เพราะครูใช้วิธีการสอนที่หลากหลายเกินไป แต่ไม่สามารถเลือกวิธีการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนและธรรมชาติของวิชาได้ ทำให้ผู้เรียนไม่มีความเข้าใจในบทเรียน ขาดหลักในการทำความเข้าใจกับเนื้อหาวิชา ครูทุกคนมีความเห็นว่าวิธีการสอนแบบอุปนัยและแบบนิรนัยนั้นเป็นวิธีการสอนที่มีความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระของวิชาคณิตศาสตร์มากที่สุด แต่ปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนของครูที่จัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ คือ ครูส่วนมากมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีสอนแบบอุปนัยและแบบนิรนัยแค่ใน ระดับปานกลาง ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และความแม่นยำในขั้นตอนการสอนด้วยวิธีสอนแบบอุปนัยและแบบนิรนัย ดังนั้นเมื่อครูยังไม่สามารถจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีที่เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชาคณิตศาสตร์ได้ จึงส่งผลให้ผู้เรียนขาดทักษะ ความรู้ ความสามารถ อันเป็นผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของวิชาคณิตศาสตร์ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด จึงควรพัฒนาที่ครูผู้สอนให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. แนวทางในการพัฒนาครูที่จัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านคำภูทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 จากการกำหนดแนวทางในการพัฒนาครูที่จัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านคำภูทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และนำไปใช้สอนในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการนิเทศภายใน    

3. ผลการติดตามการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านคำภูทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ผลการดำเนินการเป็นดังนี้ พบว่า กลุ่มผู้วิจัยมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีสอนแบบอุปนัยและแบบนิรนัย สามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และสามารถจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบอุปนัยและแบบนิรนัยในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนด โดยครูมีการเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบอุปนัยและแบบนิรนัย ไว้ล่วงหน้า และจัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เอื้อต่อ การเรียนรู้ของผู้เรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติ ทำให้นักเรียนสามารถตอบคำถาม ทำแบบฝึกหัด และแบบทดสอบได้ ส่งผลต่อการพัฒนาตัวนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงขึ้น

Abstract

ABSTRACT

This study was focused at 1) To study the problem of learning the Mathematics Teachers at the Ban Kumputong  Under Sakon Nakhon Prtmary Educational Service Area Office 3. 2)  To find solutions of Learning The Mathematics Teachers at the Ban Kumputong School Under Sakon Nakhon Prtmary Educational Service Area Office3. 3) monitoring the impact of learning  the Mathematics Teachers  at the Ban Kumputong Under Sakon Nakhon Prtmary Educational Service Area Office 3.

The research is participatory action research. of 4 steps : planning,action, observation and reflection The participants consisted of  6 teacher of Mathematics Teachers.  The  instruments  used  were 1) A  form  for  recording  meeting  minutes 2) A Observation and workshops  3) an  interview  form 4) A questionnaire 5) A supervision Mean, percentage and standard deviation were used for data analysis.

The results of the study were as follows:

1. problem of learning the Mathematics Teachers  at the Ban Kumputong School Under Sakon Nakhon Prtmary Educational Service Area Office 3. Is Conditions in the learning of mathematics. Teachers will use a variety of teaching approaches. Teaching the media regularly. With emphasis on measurement and evaluation. Assessment of actual conditions. And improved learning regularly. The mean of the learning achievement of substance of learning mathematics As 2.35. It is in the low national average. By most students with learning achievement at most 2.5 is 26.47 percent. Teacher of Mathematic the average of the results achieved. 36.23 percent to improve the quality of teachers in the 9th standard. Teachers have the ability to deal effectively and focus on teaching the students is important. Based on the evaluation criteria. Quality is satisfactory. And assessment-based education. Quality is satisfactory. But considering the details according to the indicators .Found Indicator 2 teachers in substance of learning mathematics, effective teaching and learning is the key focus. With an average of 66.7 per cent achieved level of quality standards in the Fair.  This is because teachers use a variety of teaching approaches too. But not teaching methods appropriate to the learner and the nature of the subject. The students do not understand the lesson. The lack of understanding on the subject. It of the teacher, learning math, everyone has an opinion that teaching methods are inductive and deductive teaching methods that are appropriate to the content of most mathematics. But the teaching of mathematics teacher learning is most teachers have a deep understanding of learning. With inductive and deductive approach only moderately. Lack of knowledge, understanding and precision in the process of teaching the inductive and deductive approach. So when the teacher is not based learning the right way by the nature of mathematics. As a result, the students' lack of skills and knowledge, and as a result the students can academic achievement of mathematics do not meet the standards set. Should be developed to provide teachers with the ability to manage learning effectively.                    

2. To find solutions of learning the Mathematics Teachers at the BanKumputong Under Sakon Nakhon Prtmary Educational Service Area Office 3. Of the set To find solutions of learning the Mathematics Teachers  at the BanKumputong  Under Sakon Nakhon Prtmary Educational Service Area Office 3. By the management workshop, Understanding about based learning to instruction inductive and deductive. Lesson plans can be prepared and used to teach in the classroom effectively.        

3. Monitoring the impact of learning the Mathematics Teachers  at the BanKumputong School Under Sakon Nakhon Prtmary Educational Service Area Office 3.The action follows a group of researchers have found that knowledge. Understanding about learning. With inductive and deductive approach. Can prepare lesson plans. based learning and inductive and deductive teaching methods in the classroom effectively. Achieve the objectives set. Teachers prepared lesson plans for instruction inductive and deductive methods pre and classroom atmosphere conducive to it. Learning of the students. Students have the opportunity to comment. Participate in the proceeding. Students can answer questions .Exercises and tests. Affect the development of students with higher mathematics achievement.

คำสำคัญ

การจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์

Keyword

Competency in Instructional Management Based on Learner Centred Approach

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093