...
...
เผยแพร่: 15 เม.ย. 2558
หน้า: 87-96
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 218
Download: 186
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการจัดและการใช้แหล่งเรียนรู้ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัด องค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
The Development of Teachers’ Competency in Learning Resource Management and Usage for the Child Development Center under Khok Kong Subdistrict Administration Organization, Mueang District,Sakon Nakhon
ผู้แต่ง
ปารถนา จันทรังษี, ไชยา ภาวะบุตร, สุจิตรา แบบประเสริฐ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  มีความมุ่งหมายเพื่อ  1) ศึกษาสภาพ และปัญหาการจัดการแหล่งเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 2) หาแนวทางการส่งเสริมการจัดการแหล่งเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับเด็ก 3) ศึกษาผลจากการส่งเสริมการจัดการแหล่งเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อง โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการ  ดำเนินการ 2 วงรอบ  มี 4 ขั้นตอน คือ  ขั้นการวางแผน (Planning) ขั้นปฏิบัติการ (Action) ขั้นสังเกตการณ์(Observation) และขั้นสะท้อนกลับ(Reflection) จำนวน 2 วงรอบ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  ผู้วิจัยครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 7 คน วิทยากร  จำนวน 2 คน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1 คน พนักงานส่วนตำบล จำนวน 3 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 8 คน ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 20 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบประเมิน สถิติ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการวิจัย พบว่า

1.  สภาพและปัญหาการในการจัดและการใช้แหล่งเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อง มีดังนี้

1.1 สภาพการจัดการแหล่งเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่องพบว่า ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการแหล่งเรียนรู้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาเกี่ยวกับการจัดการแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง

1.2 ปัญหาการจัดการแหล่งเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อง พบว่า การจัดการแหล่งเรียนรู้ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากขาดความรู้ เทคนิคและวิธีการที่เหมาะสม และครูผู้ดูแลเด็กยังมีความต้องการที่จะเข้ารับการพัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในการจัดการแหล่งเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2.  แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการจัดการแหล่งเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่องโดยในวงรอบที่ 1 ได้ใช้กลยุทธ์ในการพัฒนา 2 แนวทาง 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) กิจกรรมการนิเทศและติดตามผลการจัดการแหล่งเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และในวงรอบที่ 2  ใช้การนิเทศแบบการให้คำแนะนำ (Coaching) ในการจัดการแหล่งเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็ก

3.  ในการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดการแหล่งเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อง ในวงรอบที่ 1 โดยการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการจัดการแหล่งเรียนรู้และการนิเทศภายในเพื่อติดตามผล พบว่า หลังการพัฒนา  ครูผู้ดูแลเด็กได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น  คิดเป็นร้อยละ 29.04 โดยในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการครูผู้ดูแลเด็กมีพฤติกรรมการร่วมกิจกรรมโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  และมีความสามารถในการจัดการแหล่งเรียนรู้โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และในวงรอบที่ 2 จากการพัฒนาในวงรอบที่ 1 การติดตามและประเมินผลในการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดการแหล่งเรียนรู้ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่องโดยการออกนิเทศและติดตามผลการจัดการแหล่งเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อง พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กสามารถจัดการแหล่งเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยภาพรวมแล้วมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการในด้านต่างๆ โดยรวมแล้วเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด           

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this research were to: 1) investigate the conditions and problems of learning resource management and usage for the Child Development Center under Khok Kong Subdistrict Administration Organization, 2) find ways to support learning resource management to facilitate children learning, 3) examine the effects after the intervention. This action research employed a two-spiral approach comprising four stages: planning, action, observation, and reflection. The target group involved seven co-researchers, two resource persons, a chair of Subdistrict Administration Organization, eight heads of community, and 20 parents. The research instruments were an interview form, a test, an observation form, and an assessment form. The statistics used for data collection were percentage, mean, and standard deviation.

The findings were as follows:

1. The conditions and problems of learning resource management and usage for the Child Development Center under Khok Kong Subdistrict Administration Organization revealed that: 

1.1 In terms of conditions, the teachers had limited knowledge in managing learning resources since they did not receive a training continuously and appropriately.

1.2 In terms of problems, the learning resource management was in effective as teachers lacked proper techniques and approach. Teachers also wanted to develop and enhance their knowledge and understanding about learning resource management for the Child Development Centers effectively.

2. The guidelines for developing the Child Development Center under Khok Kong Dubdistrict Administration Organization, in the first spiral, comprised two activities: 1) a workshop, and 2) a supervision and monitoring for learning resource management. In the second spiral, the coaching supervision was employed.

3. The effects after the intervention revealed that in the first spiral after the workshop the teachers gained more knowledge and understanding for learning management with 29.04 percentage. During the workshop, the teachers reported their participating behavior, as a whole, at a high level. In the secondary spiral, the results from the follow-up and evaluate session found that teachers were able to manage learning resources, as a whole, as a whole, at the highest level, which supported children development, as a whole, at the highest level.

คำสำคัญ

การจัดและการใช้แหล่งเรียนรู้

Keyword

Learning Resource Management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093