...
...
เผยแพร่: 15 เม.ย. 2558
หน้า: 77-86
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 241
Download: 172
Download PDF
การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามมาตรฐานการศึกษา (ขั้นพัฒนา) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหาร ส่วนตำบลกุสุมาลย์ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
Teachers’ Professional Development on Learning Experiences Management Based on the Educational Standards (Development Stage) at Child Development Centers under the Local Administration, Kusumal Subdistrict Administrative Organization, Kusumal District,
ผู้แต่ง
ปราณี ฉิมชัย, วัฒนา สุวรรณไตรย์, พณารัตน์ บุตรชารี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของครูผู้ดูแลเด็กใน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามมาตรฐานการศึกษา (ขั้นพัฒนา) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกุสุมาลย์ 2) หาแนวทางการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามมาตรฐานการศึกษา (ขั้นพัฒนา) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกุสุมาลย์  และ 3) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามมาตรฐานการศึกษา (ขั้นพัฒนา)  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกุสุมาลย์กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน  9 คน โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก คือ 1) การวางแผน (Planning) 2) การปฏิบัติการ (Action) 3) การสังเกตการณ์ (Observation) และ 4) การสะท้อนกลับ (Reflection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (\bar{x}) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพและปัญหาการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามมาตรฐานการศึกษา (ขั้นพัฒนา) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกุสุมาลย์ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร  ด้านสภาพพบว่า ครูผู้ดูแลเด็ก ขาดการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ไม่ได้ใช้แผนในการจัดประสบการณ์ ใช้วิธีการสอนแบบเดิม ที่ตนเองเคยสอนมาและไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอน และครูส่วนใหญ่มีความรู้แต่ขาดความเข้าใจและทักษะในการจัดประสบการณ์  ด้านปัญหาพบว่า การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งครูผู้ดูแลเด็กทุกคนมีความต้องการในการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2. แนวทางในการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษา (ขั้นพัฒนา) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกุสุมาลย์ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร โดยใช้แนวทางในการพัฒนา 3 แนวทาง ดังนี้ 1) การศึกษา ดูงาน 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการ และ  3) การนิเทศติดตาม

3. ผลการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณการเรียนรู้ ตามมาตรฐานการศึกษา (ขั้นพัฒนา) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกุสุมาลย์ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น ครูผู้ดูแลเด็กสามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและสามารถนำแผนไปใช้ในการจัดประสบการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

ABSTRACT    

The purposes of this research were to: 1) examine conditions and problems of teachers in managing learning experiences based on the educational  standards (development stage) at Child Development Centers under the Local Administration Organization, Kusumal Subdistrict Local Administrative Organization, 2) establish the guidelines for teachers’ professional development on learning experiences management, and 3) follow-up and evaluation on the development of teachers based on the educational standards (development stage). The target group consisted of nine teachers. The research employed the two spirals of action research. Each spiral involved four stages: planning, action, observation and reflection. The research instruments were a test, an observation form, an interview form, and a supervision from on learning experiences management. The statistics were percentage, mean and standard deviation,

The findings were as follows:

1. The conditions and problems for developing teachers in managing learning experiences based on the educational standards (development stage) revealed that: in terms of conditions, teachers did not make experiential learning lesson plans. In addition, teachers employed traditional teaching approach and were unlikely to change their teaching methods. Most teachers had Knowledge but lack understanding and skills in managing leaning experience. Consequently, the problem found in this research was an implementation of ineffective learning management. In terms of needs, the teachers wanted to attend a training workshop to better Knowledge, understanding and skills in managing learning experiences.

2. The guidelines for developing the teachers involved three categories: 1) a study tour, 2) a training workshop, 3) a follow-up supervision.

3. The effects after the teacher’ professional development revealed that the teachers gained more knowledge and understanding on learning experience management. The teachers were also able to write lesson plans appropriately at a high level, and to employ the effective lesson plans into practice. As a result, the students reported the highest level of learning behaviors.

คำสำคัญ

การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็ก, การจัดประสบการณ์การเรียนรู้

Keyword

Teachers’ Professional Development, Learning Experiences Management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093