บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน 2) หาแนวทางการปรับลดปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน 3) ติดตามผลการปรับลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย คือ 1) ผู้ร่วมวิจัย จำนวน 6 คนประกอบด้วย ผู้วิจัย ครูที่ปรึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 3 คน ครูฝ่ายปกครอง จำนวน 2 คน 2) ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 35 คน ประกอบด้วยครูที่ปรึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 3 คน ครูที่สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 3 คน ครูฝ่ายปกครอง จำนวน 2 คน ผู้ปกครองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 25 คน พระวิทยากร จำนวน 2 รูป กลุ่มเป้าหมายการพัฒนา ประกอบด้วย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสังเกต 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการพรรณนาจากบทสัมภาษณ์ และนำเสนอผลการวิจัยเชิงบรรยาย
ผลการวิจัย พบว่า
1. พฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนก่อนการปรับลดพฤติกรรม คือ ด้านพฤติกรรมก้าวร้าวทางกายและพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจา นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมก้าวร้าวอย่างมาก โดยสะท้อนพฤติกรรมให้เห็น การแสดงกิริยาล้อเลียน การไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง การใช้กำลังต่อสู้ ชกต่อย ทะเลาะวิวาท การแย่งชิง การทำลายสิ่งของต่างๆ การโต้เถียงกับครู การพูดประชดประชัน เสียดสี การใช้คำพูดรุนแรงและหยาบคาย การข่มขู่เพื่อน ดูถูกดูหมิ่น ตะโกน ตวาด
2. แนวทางการปรับลดปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน มี 3 แนวทาง คือ การศึกษารายกรณีการอบรมนักเรียนและการให้คำปรึกษา
3. ผลการปรับลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้อย่างชัดเจน สามารถปรับพฤติกรรมก้าวร้าวทางกาย คือ การไม่แสดงกิริยาล้อเลียน ปฏิบัติตามคำสั่ง ไม่ใช้กำลังต่อสู้ชกต่อย ไม่ทะเลาะวิวาท ไม่แย่งชิงสิ่งของและไม่ทำลายสิ่งของต่างๆ ส่วนพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจา นักเรียนแสดงพฤติกรรมลดน้อยลง เช่น การโต้เถียงกับครู การพูดประชดประชันเสียดสี การใช้คำพูดรุนแรงและหยาบคาย การข่มขู่เพื่อนดูถูกดูหมิ่น ตะโกน ตวาด เมื่อเทียบกับก่อนการได้รับการปรับพฤติกรรม ส่งผลดีในด้านการพัฒนาผู้เรียนให้มีแรงจูงใจในการเรียนมากขึ้น และทำให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกคนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ลดพฤติกรรมก้าวร้าวลงจนไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวอีก
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this study were 1) to investigate students’ aggressive behavior, 2) to determine strategies for reducing their aggressive behavior, and 3) to apply aggressive behavior reducing strategies. The sample consisted of 1) 6 co-researchers: the researcher, 3 Matthayom 1-3 advisers, and 2 administrative teachers, 2) 35 informants: 3 Matthayom 1-3 advisers, 3 Matthayom 1-3 teachers, 2 administrative teachers, 25 parents of Matthayom 1-3 students, and 2 monks as lecturers, and 3) the target group: 25 Matthayom 1-3 students. The instruments used in the study included an observation form, interviews, and a form of aggressive behavior assessment. The interview description was used in data analysis. The results reveal:
1. Before the intervention, the students’ physical and verbal aggressive behavior through the forms of teasing, using sarcasm, disobedience, fighting, quarrel, scrambling, destroying things, arguing with teachers, speaking violently and rudely, intimidating, insulting, and yelling at classmates was considered severe.
2. There are 3 strategies used for reducing students’ aggressive behavior including individual case studies, student training, and counseling.
3. The results of decreasing students’ aggressive behavior show positive effects on both physical and verbal behavior. In addition, they are more encouraged and enthusiastic to learning, and their overall personalities are improved.
คำสำคัญ
พฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนKeyword
Students’ Aggressive Behavior.กำลังออนไลน์: 90
วันนี้: 2,074
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,273
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093