บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 176 คน ครูผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานส่งเสริมสุขอนามัยในโรงเรียนจำนวน 176 คน รวม 352 คน จากโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 61 โรงเรียน โรงเรียนขนาดกลางจำนวน 79 โรงเรียน โรงเรียนขนาดใหญ่จำนวน 36 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 176 โรงเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพ ปัญหาและประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามเป็นแบบชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบการดำเนินงานทุกองค์ประกอบ พบว่าอยู่ในระดับมาก
2. ปัญหาการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบพบว่า องค์ประกอบที่ 3 โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชนและองค์ประกอบที่ 5 บริการอนามัยโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลาง
3. ประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบพบว่า องค์ประกอบที่ 3 โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง
4. ประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้รับผิดชอบ ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามขนาดโรงเรียนที่ต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการบริหารจัดการในโรงเรียน ด้านโครงการร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพ ด้านโภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย ด้านการออกกำลังกาย กีฬาและนันทนาการ ด้านการให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านสุขศึกษาในโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ประสิทธิผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้รับผิดชอบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามเขตอำเภอที่โรงเรียนสังกัด โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านนโยบายของโรงเรียน ด้านบริหารจัดการในโรงเรียน ด้านโครงการร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพ ด้านบริการอนามัยโรงเรียน ด้านสุขศึกษาในโรงเรียน ด้านโภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย ด้านการออกกำลังกายกีฬาและนันทนาการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
การวิจัยครั้งนี้ได้เสนอแนวทางในการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ไว้ด้วย คือ ด้านโครงการร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพ และด้านบริการอนามัยโรงเรียน
Abstract
ABSTRACT
This study aimed to investigate states, problems and effectiveness of the application on health promotion in schools under the Office of SakonNakhon Primary Educational Service Area 1. The sampling group consisted of 176 school administrators, 176 teachers in charge of health promotion application in 61 small schools, 79 medium-sized schools, and 36 large schools- a total of 176 schools. A tool used in collecting data was a rating scale questionnaire on states,problems and effectiveness of the application on health promotion. Data were analyzed by percentage, mean and standard deviation, reliability and F-test.
The findings were as follows:
1. The states of the application on health promotion in the schools, in general and in particular, were at the high level.
2. The problems on the application of health promotion in the schools, as a whole, were at the low level. When each aspect was considered, it was found that Factor 3- The Cooperative Project between School and Community as well as Factor 5- Health Service in School were at the moderate level.
3. The effectiveness of the health promotion application in the schools was at the high level in general. When separately considered, it was found that Factor 3- The Cooperative Project between School and Community were at the moderate level.
4. The comparison of the perception between school administrators and teachers in charge in the school of different size based on the operation of health promotion, as a whole, was not difference. When each aspect was considered, it was determined that there was I difference at the .01 level of significance. On 2 items: The Cooperative Project between School and Community and Counseling and Social Support whereas the aspects on School Policy as well as Nutrition and Safe Food differed significantlyat the .05 level.
5. The comparison on the opinions between the school administrators and teachers in the schools located in each district based on the operation of health promotion in the schools was differed significantly at the .01 level.When each aspect was considered, it was found that the aspects on school policy, school administration and management, cooperative project between school and community, environment management conducive to health, school health service, health education in school, nutrition and safe food, exercise, sports and recreation differed significantly at the .01 level. The guidelines in the effectiveness development on the application of health promotion were also included.
คำสำคัญ
ประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพKeyword
Health promotion application in school.กำลังออนไลน์: 31
วันนี้: 1,020
เมื่อวานนี้: 1,352
จำนวนครั้งการเข้าชม: 81,773
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093