บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและประสิทธิผลการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร 2) เปรียบเทียบสภาพ ปัญหาและประสิทธิผลการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร จำแนกตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และครูผู้รับผิดชอบโครงการตามขนาดโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 3) แนวทางการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 80 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 80 คน ครูผู้สอน จำนวน 160 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเอฟ (F-test) ชนิด One-way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่โดยใช้วิธีการของ LSD
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมและรายด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร จำแนกตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและหัวหน้าโครงการ โดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ เมื่อจำแนกตามขนาดของโรงเรียน และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาโดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
3. ปัญหาการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมและรายด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
4. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร จำแนกตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้รับผิดชอบโครงการ และครูผู้สอน ตามขนาดโรงเรียน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ประสิทธิผลการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง
6. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร จำแนกตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้รับผิดชอบโครงการ และครูผู้สอน ตามขนาดโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
7. แนวทางพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนดีศรีตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร ได้แก่ ด้านนักเรียนและด้านโรงเรียน
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research aimed to 1) investigate the states, problems and effectiveness of the implementation of the “Sri Tambon School” Project under the Offices of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area, 2) compare the states, problems and effectiveness of the implementation of the “Sri Tambon School” Project under the Offices of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area, and 3) find out guidelines to develop the states, problems and effectiveness of the implementation of the “Sri Tambon School” Project under the Offices of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area. The samples were 320 participants including 80 school administrators, 80 teachers in charge and 160 teachers. The instrument used in data collection was a five-level rating scale questionnaire. The data were analyzed through a software program. The statistics used in analyzing data were: percentage, mean, standard deviation, F-test (One-way ANOVA), and Pairwise Differences of Means using LSD.
The findings were as follows:
1. The implementation states of the Project of the “Sri Tambon School” under the Offices of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area, as a whole and in each aspect, were at the high level.
2. The results of the comparison of the states of the implementation of the Sri Tambon School Project under the Offices of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area as perceived by the school administrators, teachers in charge, and teachers, as a whole, were significantly different at a .01 level. When classified by school size and office of primary educational service area, it was found that there were no significant differences in general and in particular.
3. The problems of the implementation of the “Sri Tambon School” Project under the Offices of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area, as a whole and in each aspect, were at the moderate level.
4. The effects of the comparison of the problems of the implementation of the “Sri Tambon School” Project under the Offices of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area in the perception of the school administrators, teachers in charge, and teachers classified by school size and office of primary educational service area, as a whole and in each aspect, were different at the .01 level of significance.
5. The effectiveness of the implementation of the “Sri Tambon School” Project under the Offices of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area, in general, was at the moderate level.
6. The effects of the comparison of effectiveness of the implementation of the “Sri Tambon School” Project under the Offices of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area in the opinions of the school administrators, teachers in charge, and teachers, classified by schools size and office of primary educational service area, as a whole and in each aspect, differed differently at the .01 level.
7. The proposed guidelines for developing the implementation of the “Sri Tambon School” Project under the Offices of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area consisted of 2 aspects : 1) The student, and 2) the school aspects.
คำสำคัญ
การดำเนินงานโครงการโรงเรียนดีศรีตำบลKeyword
The implementation of the “Sri Tambon School” Project.กำลังออนไลน์: 141
วันนี้: 1,241
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,827
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093