บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการเสริมสร้างคุณธรรมนักเรียน ภายใต้โมเดลโรงเรียนสุจริต โรงเรียนบ้านโพนงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร 2) หาแนวทางในการเสริมสร้างคุณธรรมนักเรียน ภายใต้โมเดลโรงเรียนสุจริต โรงเรียนบ้านโพนงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร 3) ติดตามผลในการเสริมสร้างคุณธรรมนักเรียน ภายใต้โมเดลโรงเรียนสุจริต โรงเรียนบ้านโพนงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยประกอบด้วย กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 9 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและปัญหาการเสริมสร้างคุณธรรมนักเรียนโรงเรียนบ้านโพนงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
1.1 สภาพการเสริมสร้างคุณธรรมนักเรียน ภายใต้โมเดลโรงเรียนสุจริต พบว่า โรงเรียนได้มีการกำหนดเป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ กิจกรรม/โครงการในการเสริมสร้างคุณธรรมนักเรียนภายใต้โมเดลโรงเรียนสุจริต แต่การดำเนินกิจกรรมยังไม่บรรลุค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้และขาดความต่อเนื่อง
1.2 ปัญหาการเสริมสร้างคุณธรรมนักเรียนภายใต้โมเดลโรงเรียนสุจริต พบว่า ปัญหาการเสริมสร้างคุณธรรมนักเรียนอยู่ในระดับน้อย นักเรียนบางคนขาดทักษะกระบวนการคิด คุณธรรมด้านมีวินัย ด้านซื่อสัตย์สุจริต ด้านอยู่อย่างพอเพียง และด้านจิตสาธารณะยังไม่สามารถปลูกฝังให้นักเรียนเกิดลักษณะนิสัยอย่างยั่งยืนได้
2. การจัดกิจกรรมการเสริมสร้างคุณธรรมนักเรียนภายใต้โมเดลโรงเรียนสุจริต โรงเรียนบ้านโพนงามนั้น มี 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การนิเทศติดตาม 3) กิจกรรม เสริมสร้างคุณธรรมนักเรียนโรงเรียนบ้านโพนงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร มี 7 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมละครโรงเล็ก กิจกรรมปลูกผักสวนครัว กิจกรรมโรงเรียนน่าอยู่ กิจกรรม คุณธรรมนักเรียน พบว่าเป็นกิจกรรมที่สามารถเสริมสร้างคุณธรรมนักเรียนภายใต้โมเดลโรงเรียนสุจริต โรงเรียนคนดีศรีโพนงาม กิจกรรมเด็กดีมีวินัย กิจกรรมวิเคราะห์ข่าว และกิจกรรมจิตอาสา จากการจัดกิจกรรมเสริมสร้างบ้านโพนงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหารได้จริง
3. ผลการเสริมสร้างคุณธรรมนักเรียนภายใต้โมเดลโรงเรียนสุจริต โรงเรียนบ้านโพนงาม นักเรียนมีพฤติกรรมดีขึ้น นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะจริง ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียน โดยภาพรวม
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were to 1) explore conditions and problems of students’ moral enhancement based on the Upright School Project Model at Ban Phon Ngam School under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area, 2) find out the guidelines for enhancing students’ moral, and 3) follow up the effects after the development.The two-cycle participatory action research was employed, with each cycle comprising four stages of planning, action, observation and reflection. The target group comprised nine co-researchers and 27 informants. The observation forms, interview forms, and questionnaires were administrated. The quantitative data were analyzed by using mean, percentage and standard deviation. Content analysis was used to analyze the qualitative data, in forms of content classification and descriptive presentation.
The findings were as follows:
1. The investigation on conditions and problems about students’ moral enhancement at Ban Phon Ngam School under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area revealed that:
1.1 In the aspect of conditions, the school assigned the strategic goals, activities, and projects for students’ moral enhancement, but not continuously, and has not yet achieved the target set.
1.2 In the aspect of the problems, the students’ moral enhancement was at a low level. Some students did not demonstrate the certain characteristics, for example thinking process skill, discipline, integrity, self-sufficiency, and public mindedness.
2. The proposed guidelines comprised two components as follows: 1) a training workshop, 2) a follow-up supervision, and 3) the implementation of seven activities into practice: a small alternative theater, a school vegetable garden, a lively school, a good student of Phone Ngam school, an example of good disciplined student, News Analysis, and Public Mindedness. As a result, the effective activities employed could definitely assist student to improve individual moral behaviors.
3. The effects after the implementation revealed that the students had better moral behaviors. The results also reported that the parents’ satisfactions increased, as a whole, at a high level. In addition, the teachers increased their knowledge and understanding in managing the student’s moral enhancement activities.
คำสำคัญ
การเสริมสร้างคุณธรรมนักเรียน, โมเดลโรงเรียนสุจริตKeyword
Moral Enhancement, the Upright School Project Model.กำลังออนไลน์: 284
วันนี้: 1,395
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,981
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093