บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจริง และที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนตามโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ 3) เปรียบเทียบคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล และขนาดของโรงเรียน และ 4) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ตอบแบบสอบถามประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำนวน 266 คน และกลุ่มที่ 2 ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจริง โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) การกระตุ้นการใช้ปัญญา 2) การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 3) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และ 4) การสร้างแรงบันดาลใจ ส่วนคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 2) การสร้างแรงบันดาลใจ 3) การกระตุ้นการใช้ปัญญาและ 4) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์
2. คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจริง จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลด้านตำแหน่งหน้าที่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งภาพรวมและรายด้าน ส่วนวุฒิการศึกษาแตกต่างกันในรายด้าน สำหรับสถานภาพส่วนบุคคลด้านเพศ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ส่วนคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์ทุกด้านไม่แตกต่างกัน
4. แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์ ประกอบด้วย 1) ควรสร้างวิสัยทัศน์ร่วมจากข้อมูลความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในอดีตและปัจจุบัน 2) ให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของครูนักเรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยการนำมาปรับใช้ในการบริหารงานโรงเรียน 3) มีการจูงใจและสนับสนุนความคิดริเริ่มใหม่ๆ โดยการให้รางวัลหรือคำชมเชย และ 4) ให้ความสำคัญกับผู้ร่วมงานทุกคนแบบเท่าเทียมกัน ไม่แบ่งฝ่ายหรือแบ่งกลุ่มใดๆ
Abstract
ABSTRACT
The research aimed to: 1) study the level of an actual and expectation of transformational leadership characteristics of school administrator according to "world class standard school" project under the Secondary Educational Service Area Office 10; 2) compare the transformational leadership characteristics as classified by an actual and expectation 3) compare an actual and expectation of transformational leadership characteristics as classified by personal status, and school sizes; and 4) study the guidelines for developing the expectation of transformational leadership characteristics. The samples consisted of 2 groups. The first group included respondents consisting of 266 administrators and teachers. The second group included interviewees consisting of 9 administrators, head teachers of learning area and school boards. The research instruments were a questionnaire and interview. Data were analyzed with percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance, and content analysis.
Findings of this study were as follows:
1. Overall and in specific aspects, an actual of transformational leadership characteristics was at a high level. These aspects, ranked from the highest to the lowest, were as follows: (1) intellectual stimulation, (2) individualized consideration, (3) idealized influence, and (4) inspiration motivation. As for the expectation of transformational leadership characteristics was at the highest level. These aspects, ranked from the highest to the lowest, were as follows: (1) individualized consideration, (2) inspiration motivation, (3) intellectual stimulation, and (4) idealized influence.
2. The transformational leadership characteristics as classified by an actual and expectation aspects obtained statistically significant difference at .05.
3. An actual of transformational leadership characteristics as classified by personal factors in aspects of job positions and educational level in idealized influence aspects obtained statistically significant difference at .05. Whereas, personal status in aspects of gender, work experiences and school size had no difference. As for the expectation of transformational leadership characteristics as classified by personal factors and school size had no difference.
4. The suggested guidelines associated with the expectation of transformational leadership characteristics should be established as follows: (1) creating a common vision from information of stakeholders' needs and expectations from the past and present.; (2) emphasizing on the opinions of teachers, students and stakeholders to apply in the schools management.; (3) enhancing incentives and supporting initiatives by providing a reward or compliment.; and (4) emphasizing on coworkers by equality and neutral.
คำสำคัญ
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง, โรงเรียนมาตรฐานสากล, มัธยมศึกษาKeyword
transformational leadership, world class standard school, Secondary Education.กำลังออนไลน์: 97
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,419
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,618
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093