...
...
เผยแพร่: 25 มิ.ย. 2562
หน้า: 180-189
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 390
Download: 178
Download PDF
สภาพและปัญหาการนิเทศการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1
State and Problems of Educational Supervision in Schools under Loei Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง
ศิวพร โม๊ะรินทร์, บุญช่วย ศิริเกษ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการนิเทศการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 1 จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำนวน 305 คน โดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) โดยใช้สถิติทดสอบเอฟ (F-test) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference)

ผลการวิจัยพบว่า

สภาพการนิเทศการศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ทุกด้าน อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการวางแผนการนิเทศ รองลงมาคือ ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ ด้านการปฏิบัติการนิเทศ และด้านการประเมินผลการนิเทศ ตามลำดับ ส่วนปัญหาการนิเทศการศึกษาในโรงเรียนทุกด้านอยู่ในระดับน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการประเมินผลการนิเทศ รองลงมาคือ ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ ด้านการปฏิบัติการนิเทศ และด้านการวางแผนการนิเทศ ตามลำดับ

เมื่อเปรียบเทียบสภาพการนิเทศการศึกษาในโรงเรียน โดยภาพรวม จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ พบว่า ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ ด้านการวางแผนการนิเทศ และด้านการประเมินผลการนิเทศไม่แตกต่างกันส่วนด้านการปฏิบัติการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการด้านการปฏิบัติการนิเทศและด้านการประเมินผลการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการวางแผนการนิเทศ ไม่แตกต่างกันและจำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า ด้านการวางแผนการนิเทศ ด้านการปฏิบัติการนิเทศ และด้านการประเมินผลการนิเทศ ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

เมื่อเปรียบเทียบปัญหาการนิเทศการศึกษาในโรงเรียน โดยภาพรวม จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ พบว่า ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานพบว่า  ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการและด้านการปฏิบัติการนิเทศ ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านการวางแผนการนิเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านการประเมินผลการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า ด้านการวางแผนการนิเทศและด้านการปฏิบัติการนิเทศ ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ และด้านการประเมินผลการนิเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this study were to investigate levels and compare the state and problems of educational supervision in schools under loei primary educational service area office 1 were classified by position, experiences and school size. The 305 teachers and educational personnel in schools under loei primary educational service area office 1 were used as samples. The rating scale questionnaires were used as the tool for the data collecting. Analyzed by the computer program to find out the frequencies, percentage, mean and standard deviation, t-test, one way analysis of variance and F-test were employed for analysis of data. The L.S.D. (Lease Significant Difference) were used if Multiple Comparisons were found.

The results of this study were found that:

The state of educational supervision in schools under loei primary educational service area office 1 were the high level in the total and each item in overall points of view. In each item from high to low were supervision planning, the study of current state and want, supervision operations and supervision evaluation respectively. And the problems of internal supervision in schools under loei primary educational service area office 1 were the low level in every item. In each item from high to low were supervision evaluation, the study of current state and want, supervision operations and supervision planning respectively.

The comparing of  the state of educational supervision that were classified by position was found that in overall, the study of current state and want,  supervision planning and supervision evaluation was not different except in the item of supervision operations had significantly different at .05 level. The comparing of  the state of educational supervision that were classified by experiences was found that in overall, the study of current state and want, supervision operations and supervision evaluation had significantly different at .05 level except in the item of supervision planning was not different. The comparing of  the state of educational supervision that were classified by school size was found that in overall, supervision planning, supervision operations and supervision evaluation was not different except in the item of the study of current state and want had significantly different at .01 level.

The comparing of  the problems of educational supervision that were classified by position was found that in overall, the study of current state and want, supervision planning, supervision operations and supervision evaluation was not different. The comparing of the problems of educational supervision that were classified by experiences was found that in overall, the study of current state and want,  supervision operations was not different except in the item of supervision planning had significantly different at .05 level and supervision evaluation had significantly different at .01 level. The comparing of the problems of educational  supervision that were classified by school size was found that in overall, supervision planning and supervision operations was not different except in the item of the study of current state and want and supervision evaluation had significantly different at .05 level.

คำสำคัญ

การนิเทศการศึกษา, สภาพและปัญหา

Keyword

Educational Supervision, State and Problems

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093