...
...
เผยแพร่: 25 มิ.ย. 2562
หน้า: 115-124
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 355
Download: 199
Download PDF
การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านท่างาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
Development of Instructional Management Skills of Teachers to Promote Students’ Reading and Writing at Ban Tha Ngam School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3
ผู้แต่ง
รุ่งนภา กิจแก้ว, ธวัชชัย ไพใหล, วีระวัฒน์ ดวงใจ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูในการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านท่างาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3  2) หาแนวทางในการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านท่างาม 3) ติดตามผลการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านท่างาม โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการดำเนินการ 2 วงรอบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (Planning) 2) การปฏิบัติการ (Action) 3) การสังเกตการณ์ (Observation) และ 4) การสะท้อนกลับ (Reflection) และกลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 8 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินการวิเคราะห์เชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและปัญหาในการจัดการเรียนรู้ของครูในการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน พบว่า

1.1 สภาพการจัดการเรียนรู้ของครู พบว่า ครูไม่เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ล่วงหน้าในการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ไม่เหมาะสมกับผู้เรียน จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แต่ไม่เป็นปัจจุบัน

1.2 ปัญหาในการจัดการเรียนรู้ของครู พบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาการอ่านและการเขียน และขาดทักษะในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาการอ่านและการเขียน

2. แนวทางการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน ใช้แนวทางการพัฒนา 3 แนวทาง คือ 1) การศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบ 2) ประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) การนิเทศภายใน

3. ผลการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน พบว่า ครูมีความรู้ และเข้าใจในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 100 ส่วนด้านการจัดการเรียนรู้ พบว่า ครูสามารถจัดกาเรียนรู้ได้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ นักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน จำนวน 15 คนสามารถอ่านและเขียนได้อย่างถูกต้อง

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this research were: 1) to investigate conditions and problems on instructional management of teachers to promote students’ reading and writing at Ban Tha Ngam School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3, 2) to establish the guidelines for developing instructional management skills of teachers to promote students’ reading and writing at Ban Tha Ngam School, and 3) to follow up the effects after the intervention.  The Action Research of two spirals comprising four stages: planning, action, observation and reflection. The samples were 8 co-researchers and 23 informants. The research instruments were observation forms, interview forms and assessment forms. The statistics used for quantitative analysis were mean, percentage and standard deviation.

The results were as follows:

1. The conditions and problems concerning instructional management of teachers to promote students’ reading and writing at Ban Tha Ngam School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3 revealed that:

1.1 In terms of conditions, the teachers did not prepare written lesson plans in advance. Thus the lesson plans were not suitable for students and outdated.

1.2 The problems in terms of instructional management skills revealed that the teachers lacked knowledge and understanding on how to write lesson plans to improve students’ reading and writing. In addition, the teachers lacked skills on creating lesson plans to improve students’ reading and writing problems.

2. The guidelines for developing teachers’ instructional management skills to promote students’ reading and writing involved three means: 1) a best practice visit, 2) a workshop, and 3) an internal supervision.

3. The effects after the intervention revealed that 100 percentage of teachers gained better knowledge and understanding of how to write lesson plans. In terms of instructional management, teachers were able to implement the created lesson plan. The students whith problems on reding and writing were also able to read and write correctly.

คำสำคัญ

การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้, การส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้

Keyword

Instructional Management Skills, Reading and Writing Promotion

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093