บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล และครูผู้สอน ต่อสภาพปัญหาและผลสำเร็จการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จำแนกตามสถานภาพ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 325 จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 56 คน หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล จำนวน 56 คน และครูผู้สอน จำนวน 213 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ สภาพปัญหา และผลสำเร็จการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ซึ่งด้านสภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.79-0.97 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 ด้านผลสำเร็จการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.57-0.94 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การวิเคราะห์ค่าที (t-test) ชนิด Independent Samples และสถิติการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ชนิด One-Way ANOVA
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งอยู่ในระดับมาก ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านอื่นๆ อยู่ในระดับน้อย โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการออกจากราชการ
ผลสำเร็จการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีผลสำเร็จอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการออกจากราชการ ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และด้านวินัยและการรักษาวินัย อยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง และด้านการวางอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง
2. ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล และครูผู้สอน ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อ สภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ด้านวินัยและการรักษาวินัย และด้านการออกจากราชการ มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล และครูผู้สอน ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อ ผลสำเร็จการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 โดยรวมไม่แตกต่างกัน
3. ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล และครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน
ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล และครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อ ผลสำเร็จการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
4. ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล และครูผู้สอน ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่าง มีความคิดเห็นต่อ สภาพปัญหาการบริหารงานบุคคล โดยรวมแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ด้านวินัยและการรักษาวินัย และด้านการออกจากราชการ มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานบุคคล และครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อ ผลสำเร็จการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 โดยรวมไม่แตกต่างกัน
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were to 1) study problems status, success and development guideline of personnel management in secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21, following the opinions of directors, heads of personnel and teachers, 2) to compare the opinions of directors, heads of personnel, and teachers toward problems status, success and development guideline of personnel management in secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21, which had different status, work experiences, and school sizes, and 3) to search for developing approaches of personnel management in secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21. The samples consisted of 56 directors, 56 heads of personnel and 213 teachers using Multi-stage Random Sampling. All of samples are working at secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21. The instrument used in collecting data was rating scale questionnaires. Statistics used in analyzing data were mean, standard deviation, t-test (Independent Samples) and F-test One -Way ANOVA.
The findings of the study were :
1. The problematic status of personnel management in secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21 as a whole was at a moderate level, and the success of personnel management in secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21 as a whole was at a high level.
2. As a whole, the directors, heads of personnel and teachers in secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21, which had the differences of working revealed the different status the opinions of problematic status in secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21. Moreover, the success of personnel management secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21, as a whole was not different.
3. The directors, heads of personnel and teachers in secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21, who had the different work and experiences revealed that the opinions of problematic status and success in secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21, as a whole were different.
4. The directors, heads of personnel and teachers in secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21, who are working in different school sizes, as a whole, were different. Furthermore, the success in secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21, as a whole was not differences.
5. The researcher also proposed the guidelines of personnel development in school about manpower planning and position designation, and recruitment and appointment.
คำสำคัญ
การบริหารงานบุคคล, โรงเรียนมัธยมศึกษาKeyword
Personnel management, Secondary schoolกำลังออนไลน์: 309
วันนี้: 2,054
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 15,640
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093