บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ โรงเรียนบ้านทรายทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร 2) หาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยประกอบด้วย ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย จำนวน 8 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมิน แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ทำการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ของเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ พบว่า 1) ปัญหาที่พบ คือ ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ตัวบ่งชี้ที่ 5 ของ สมศ.) อยู่ในระดับปรับปรุง ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าระดับประเทศ 2) ความต้องการในการพัฒนา ประกอบด้วย ครูมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และต้องการเรียนรู้เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ และต้องการศึกษาดูงานตัวอย่างผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศเพื่อนำมาปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ของครู
2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ โรงเรียนบ้านทรายทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การศึกษาดูงาน และ 3) การนิเทศภายใน
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ โรงเรียนบ้านทรายทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร พบว่า 1) ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้เพิ่มมากขึ้น หลังจากการประชุมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงาน โดยมีผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) ครูมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากและ 4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were : 1) to seek the problems and needs on developing teachers competency on constructivism learning approach at Ban Sai Thong School under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area, 2) to identity the guidelines of developing teachers’ competency on constructivism learning approach, and 3) to follow up the effects after the intervention. The research methodology employed was a two-spiral action research. Each cycle comprised four stages, planning, action, observation and reflection. The participants were nine core search including the researcher. and thirty-three informants. The research instruments were assessment forms, observation forms, interview forms and written records. The quantitative data was analyzed using mean, percentage and standard deviation. Content analysis was used to analyze the qualitative data, in forms of content classification and descriptive presentation.
The findings were as follows :
1. Problems and needs on developing teachers’ competency on the constructivism learning approach at Ban Sai Thong School under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area were identified : 1) In terms of problems, it was found that the teachers lacked the knowledge on organizing constructivism learning approach, a low level of students’ learning achievement (Indicator 5 of EQA),a low level of O-NET scores of Pratomsuksa 6 level in all subject matter, 2)In terms of teachers’ needs were, the need to gain knowledge on the constructivism learning approach, and learn new teaching techniques. In addition, they needed to learn from good examples of best practices in order to apply the techniques in their classrooms.
2. The proposed guidelines for developing teachers’ competence were1)a training workshop and including a study tour, and 2) an internal supervision.
3. The results after the intervention revealed that : 1) Teachers gained knowledge and understanding on constructivism learning approach, as a whole, at a high level, 2) Teachers gained better skills in writing lesson plans based on constructivism learning approach. The result from the assessment, as a whole, was at the highest level, and 3) Teachers employed the developed lesson plans to practice, as a whole at a high level, and 4) The students reported their satisfaction towards learning, as a whole, at the highest level.
คำสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพครู, การจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้Keyword
Teachers’ Competence Development, Constructivism Approachกำลังออนไลน์: 96
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,419
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,617
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093