บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านนาเพียงเก่าสนธิราษฎร์สามัคคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ การวางแผนการปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยประกอบด้วย ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยจำนวน 6 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ บันทึกการประชุม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบทดสอบ และแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าร้อยละความก้าวหน้า ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านนาเพียงเก่าสนธิราษฎร์สามัคคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 พบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้ คือ มีการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เฉพาะในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเท่านั้น 2) ปัญหาการจัดการเรียนรู้ คือ ครูยังไม่ได้รับการพัฒนาทางด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดเทคนิควิธีการสอน ที่หลากหลาย ขาดการเขียนแผนการสอน แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกห้องเรียนไม่เพียงพอ
2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในวงรอบที่ 1 ใช้แนวทางการพัฒนา 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การศึกษาดูงานและ 3) การนิเทศภายใน วงรอบที่ 2 ใช้แนวทางพัฒนาโดยการนิเทศแบบให้คำชี้แนะการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า 1) ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มมากขึ้น หลังจากการประชุม เชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงาน โดยมีผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ครูมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were: 1) to examine the conditions and problems on instructional management based on the principles of sufficiency economy at Bannapiangkao Sonthiratsamakkhi School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1, 2) to establish the guidelines for developing teachers’ potentiality on instructional management based on the principles of sufficiency economy, and 3) to follow up the effects after the intervention. The research methodology employed was a two-spiral action research. Each cycle comprised four stages, planning, action, observation and reflection. The target group comprised six participants including a researcher and co-researchers, and twenty informants. The research instruments were a form of meeting minutes, a form of Interview, a form of observation, a test, and a form of assessment. The quantitative data was analyzed through mean, percentage, and a percentage of progress. Content analysis was used to analyze the qualitative data in forms of content classification and descriptive presentation.
The findings were as follows:
1. The conditions and problems on instructional management based on the principles of sufficiency economy at Bannapiangkao Sonthiratsamakkhi School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 were: 1) In terms of conditions, the principles of sufficiency economy was only integrated into the Learning Strand of Social Studies, Religion and Culture. 2) In terms of problems, teachers have not been trained on instructional management based on the principles of sufficiency economy. Teachers lacked knowledge and understanding. They also employed limited teaching approach and produced a few written lesson plans. In addition, there were inadequate learning resources inside and outside the classroom.
2. The proposed guidelines for developing teachers’ potentiality on instructional management based on the principles of sufficiency economy involved two spirals. The first spiral comprised 1) a training workshop, 2) a study tour and 3) an internal supervision. In the second spiral, a coaching supervision was employed for written lesson plans based on the principles of sufficiency economy and instructional management.
3. The results after the intervention revealed that: 1) After the training workshop and a study tour, teachers gained better knowledge and understanding on instructional management based on the principles of sufficiency economy, as a whole, at the highest level, 2) Teachers were able to write lesson plans based on the principles of sufficiency economy, as a whole at the highest level, and 3) Teachers were able to manage the instructional management based on the principles of sufficiency economy, as a whole at the highest level.
คำสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพครู การจัดการเรียนรู้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงKeyword
Teachers’ Potential Development, Instructional Management, Principles of Sufficiency Economyกำลังออนไลน์: 334
วันนี้: 2,082
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 15,668
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093