บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ในการวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ต่อบทบาทที่คาดหวังและบทบาทที่เป็นจริงของข้าราชการครู ในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทที่คาดหวังและบทบาทที่เป็นจริงของข้าราชการครูในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาข้าราชการครูในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 93 คน และครูผู้สอน จำนวน 234 คน รวมจำนวน 327 คน จากโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า แบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง ด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ด้านจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ด้านจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ และด้านจรรยาบรรณต่อสังคม มีค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง .29 ถึง .81 ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.96 และ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้ F – test และ t – test ชนิด Independent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนเกี่ยวกับบทบาทที่คาดหวังและบทบาทที่เป็นจริง พบว่า บทบาทที่คาดหวังของข้าราชการครู ในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยรวม และเป็นรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และบทบาทที่เป็นจริงของข้าราชการครู ในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยรวมและเป็นรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก
2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 2
2.1 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งพบว่า บทบาทที่คาดหวัง โดยภาพรวมและเป็นรายด้านมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน คือ ไม่แตกต่างกัน ส่วนบทบาทที่เป็นจริง โดยภาพรวมและเป็นรายด้านมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน คือ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ และจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ไม่แตกต่างกัน
2.2 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า บทบาทที่คาดหวัง โดยภาพรวมมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน คือ ไม่แตกต่างกัน ส่วนบทบาทที่เป็นจริง โดยภาพรวมมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน คือ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า บทบาทที่คาดหวังและบทบาทที่เป็นจริง โดยภาพรวมมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน คือ ไม่แตกต่างกัน
3.งานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางในการพัฒนาข้าราชการครูในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 2 มี 5 แนวทาง คือ
3.1 การปลูกฝังให้ข้าราชการครูตระหนักถึงความสำคัญของวิชาชีพที่มีความเป็นมืออาชีพ และเป็นวิชาชีพที่ชั้นสูง
3.2 การศึกษาดูงานในองค์กรที่มีความเป็นเลิศด้านคุณธรรม จริยธรรม
3.3 หน่วยงานต้นสังกัดควรเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพให้ข้าราชการครูในสังกัดรับทราบ
3.4 การจัดโครงการประกวดผู้ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณดีเด่น ยกย่อง ให้รางวัล
3.5 ควรมีการติดตามและประเมินผลเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง
Abstract
ABSTRACT
The purposes of the research were to 1) examine the opinions of school administrators and teachers toward the expected and actual practice of government teachers on professional code of ethics; 2) compare the expected and actual practice of government teachers on professional code of ethics; and 3) establish the guidelines for developing government teachers on professional code of ethics. A total of 327 participants included 93 school administrators and 234 teachers under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2. The research instrument was a set of questionnaires with a 5-point rating scale involving 5 aspects: self- ethics practice, professional ethnics practice, service-user ethnics practice, co-occupation ethnics practice, and social ethnics practice. The discrimination Index of the questionnaire was ranged between .29 – .81 with a reliability of 0.96 and 0.97. The statistics for data analysis were mean, percentage, standard deviation. The hypothesis test was done through F-test and t-test (Independent Samples).
The findings were as follows:
1. The opinions of school administrators and teachers toward the expected practice of government teachers on professional code of Ethics in schools under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2, as a whole and each aspect were at the highest level, whereas the actual practice of government teachers, as a whole and each aspect were at a high level.
2. The comparison of the participants’ opinions on professional code of ethics in schools under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2 revealed that:
2.1 The participants with different working position reported that the expected practice, as a whole and each aspect was not different, whereas the actual practice, as a whole and each aspect was statistically significant at the .05 level, expect self- ethics practice, professional ethnics practice, and service-user ethics practice.
2.2 The participants with different work experience reported that the expected practice, as a whole and each aspect was not different. However, the actual practice, as a whole was statistically significant at the .05 level.
2.3 The participants with different school sizes reported that the expected and actual practice, as a whole was not different.
3. In this research, the researcher proposed the guidelines for developing government teachers’ practice of professional code of ethics in schools under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2 involving five aspects as follows:
3.1 The professional cultivation should be implemented in order to help government teachers become aware of the importance of professionals including being professional and advanced professional practice.
3.2 Visiting organizations with moral and ethics excellence.
3.3 Individual organization should function public relations to educate government teachers concerning the guidelines for developing self-practice in accordance with the professional code of ethics.
3.4 Project establishment on outstanding practice competition in terms of professional code of ethics. The performance appraisal and awards should also be presented.
3.5 Monitoring and evaluation process were required in order to achieve a truly development.
คำสำคัญ
จรรยาบรรณวิชาชีพครูKeyword
Teaching Professional Code of Ethnicsกำลังออนไลน์: 54
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,636
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,835
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093