บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบภาวะผู้นำครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำครู ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูจำแนกตามเพศ 3) เปรียบเทียบภาวะผู้นำครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูจำแนกตามสถานภาพ 4) เปรียบเทียบภาวะผู้นำครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน 5) เปรียบเทียบภาวะผู้นำครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูจำแนกตามขนาดโรงเรียน 6) หาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 335 คน ซึ่งได้มาจาก การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test สำหรับแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำครูได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 10 คนโดยเนื้อหาในการสัมภาษณ์ ได้จากด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม
ผลการวิจัย พบว่า
1. ภาวะผู้นำครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผู้บริหารและครูที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬไม่แตกต่างกัน
3. ผู้บริหารและครูที่มีสถานภาพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยรวมไม่แตกต่างกัน
4. ผู้บริหารและครูที่มีความคิดเห็นจำแนกตามประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬโดยรวมไม่แตกต่างกัน
5. ผู้บริหารและครูที่มีความคิดเห็นจำแนกขนาดโรงเรียนแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
6. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มีดังนี้
6.1 ด้านการเป็นบุคคลแห่งการเปลี่ยนแปลง ครูควรมีความเชื่อมั่นในการพัฒนาความรู้ให้แก่ตนเองและควรคำนึงถึงเป้าหมายของการทำงานโดยตั้งเป้าหมายร่วมกับผู้อื่นอย่างมีผู้บริหารและครู อีกทั้งควรให้ความสำคัญกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นปัจจุบันเพื่อให้เกิดความรอบรู้แล้วนำมาพัฒนาตนเองและเพื่อนร่วมงานได้
6.2 ทางด้านการปฏิบัติงานอย่างไตร่ตรอง ครูควรมีการวางแผนการทำงานควรศึกษารายละเอียดกฎเกณฑ์ หรือแนวทางการปฏิบัติโดยไตร่ตรองถึงผลที่จะเกิดขึ้น มีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยให้นำผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมานำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น
6.3 ด้านการมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์นักเรียน ครูควรมีความเข้าใจในเรื่องที่สอนควรศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองและเลือกสรรวิธีการต่างๆ มาปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียน
Abstract
ABSTRACT
This study aims 1) to investigate teacher leadership in schools under the Office of Buengkan Basic Education Service Area, 2) to compare the perception of teacher leadership of teachers, and administrators classified by gender, 3) to compare the perception of teacher leadership of teachers, and administrators classified by working position, 4) to compare the perception of teacher leadership of teachers, and administrators classified by years of working experience, 5) to compare the perception of teacher leadership of teachers, and administrators classified by size of schools, and 6) to seek the guidelines to develop teacher leadership in schools under the Office of Buengkan Basic Education Service Area. The samples of the study consisted of 335 teachers, and administrators in schools under the Office of Buengkan Basic Education Service Area, selected by multi-stage random sampling. The data was collected by questionnaires. The data was analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test. For the guidelines to develop teacher leadership in schools under the Office of Buengkan Basic Education Service Area, 10 experts were interviewed in the contents in the lowest value aspects below than total average.
The findings were as follows:
1. In overall, the teacher leadership of the teachers under the Office of Buengkan Basic Education Service Area was in the high level.
2. The perception of teachers and the administrators in the teacher leadership, classified by gender, was not different.
3. The perception of teachers and the administrator in the teacher leadership, classified by position, was not different in overall.
4. The perception of teachers and the administrators in the teacher leadership, classified by years of working experience, was not different in overall.
5. The perception of teachers and the administrators in the teacher leadership, classified by school sizes was in a statistically different significance at the .05 level.
6. The guidelines to develop the teacher leadership in schools under the Office of Buengkan Basic Education Service Area were as follows:
6.1 In aspect of being the person of change, teachers should be confident that they have the ability to learn and develop their own by studying and have to set up the vision in collaborative working skills by aiming the current circumstances for more knowledge to develop themselves and the colleagues.
6.2 In aspect concentrated working, teachers should have working plans and studied the precise regulations and rules and concentrated working by aim at the expected outcome. Moreover, they have to Analyze the cause of problems and to seek to solve problems based on the past result of working to be the guidelines of the better work developing.
6.3 In aspect of aims at students’ achievement, teachers should understand the contents given to the students and also study to develop themselves and to select the instructions and teaching methods applied in learning process to effectively develop students’ ability.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำครูKeyword
Teacher Leadershipกำลังออนไลน์: 79
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,399
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,598
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093