บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น ผู้บริหาร และครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 363 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 89 คน และครูผู้สอน จำนวน 274 คน จาก 89 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมี 2 ตอน คือ ปัจจัยการบริหารงานวิชาการ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.49 - 0.89 ค่าความเชื่อมั่น 0.98 และความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.73 – 0.89 ค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยการบริหารงานวิชาการ และความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ปัจจัยการบริหารงานวิชาการ และความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน โดยรวม และรายด้านไม่มีความแตกต่างกัน
3. ปัจจัยการบริหารงานวิชาการ และความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวม และรายด้านไม่มีความแตกต่างกัน
4. ปัจจัยการบริหารงานวิชาการ และความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน
5. ปัจจัยการบริหารงานวิชาการกับการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ปัจจัยการบริหารงานวิชาการที่มีอำนาจพยากรณ์ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน โดยรวมพบว่ามี จำนวน 5 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านการแนะแนว และนิเทศการศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพในสถานศึกษา ด้านการคัดเลือกหนังสือแบบเรียนการพัฒนาสื่อ และการพัฒนา และส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรท้องถิ่น และด้านการส่งเสริมชุมชน และองค์กรอื่นๆ ให้พัฒนาความเข้มแข็งทางวิชาการ
7. ในการวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางพัฒนาความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ คือควรพัฒนาปัจจัยการบริหารงานวิชาการที่มีอำนาจพยากรณ์ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญทั้งโดยรวม จำนวน 5 ปัจจัย คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรท้องถิ่น ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพในสถานศึกษา ด้านการคัดเลือกหนังสือแบบเรียนการพัฒนาสื่อและการพัฒนา และส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ ด้านการแนะแนว และนิเทศการศึกษา และด้านการส่งเสริมชุมชน และองค์กรอื่นๆ ให้พัฒนาความเข้มแข็งทางวิชาการ
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this study were to compare, find out the relationship, predictive power and to find the guidelines of developing the success of Child-Centered Learning in Schools under the office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 in academic year 2016, amount 363, consists 89 administrators and 274 teachers from 89 schools. The instrument used for five rating scale of questionnaire, with 2 parts were Factors on the Academic Affairs Management Affecting of Child-Centered Learning in Schools. The discriminative power between 0.49 - 0.89, the reliability was at 0.98 and the implementation to the student literacy policy in schools the discriminative power between 0.73 – 0.89, the reliability was at 0.98. The statistic for analyze were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation, t-test (Independent Samples), One – Way ANOVA (F-test) and Stepwise Multiple Regression Analysis
The findings of this study were as follows:
1. The factors on academic affairs management and Child-Centered Learning, according to their administrators and teachers were at the high level in general.
2. The factors on academic affairs management and Child-Centered learning, according to their administrators and teachers in general, and each dimension, are not different.
3. The factors on academic affairs management and Child-Centered Learning according to their administrators and teachers according to the school size in general and each dimension, are not different.
4. The factors on academic affairs management and Child-Centered Learning according to their administrators and teachers according to the experience overall, is not significant differences in general.
5. The factors on academic affairs management and Child-Centered Learning according to their administrators and teachers have relationship in a positive way. The level of statistically significant at .01 level.
6. The factors on academic affairs management, the predictive power of success in Child-Centered Learning according to their administrators and teachers in general found that five aspects of the amount predicted the success in learning the learner is essential. There was a statistically significant level.01 are the guidance and supervision, the teaching learning process in educational development and research to improve the quality of education, the teaching learning process in educational development and research and improve the quality of education. The selected textbooks media development and development and encourage learning, development curriculum and local programs and the promotion of community and other organizations to develop a strong academic.
7. In purposes of this research have to present how successful development of the Child-Centered Learning is development the factors on academic affairs management to has the predictive power of success in Child-Centered Learning in general. There are five aspects that should be included in the school curriculum development and local curriculum, the teaching learning in school learning process development and research to improve the quality of education, the selection of textbook development, media development. And encourage learning the guidance and supervision and the promotion of community and other organizations to develop a strong academic
คำสำคัญ
ปัจจัยการบริหารงานวิชาการ, การจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญKeyword
The Factors on the Academic Affairs Management, Child-Centered Learningกำลังออนไลน์: 78
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,457
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,656
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093