...
...
เผยแพร่: 15 ก.ค. 2562
หน้า: 217-226
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 973
Download: 154
Download PDF
การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อยกระดับเข้าสู่มาตรฐานสากล
A Development Model of Educational Administration for School Upgrading to World - Class Standard
ผู้แต่ง
พนม พงษ์ไพบูลย์, พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารโรงเรียนเพื่อยกระดับเข้าสู่มาตรฐานสากล เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อยกระดับเข้าสู่มาตรฐานสากล และเพื่อพัฒนาและประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อยกระดับเข้าสู่มาตรฐานสากล

ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูที่ทำหน้าที่หัวหน้างานวิชาการ และครูที่ทำหน้าที่หัวหน้างานบุคลากร โรงเรียนในโครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 312 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง และแบบสอบถาม ที่มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา โดยวิธีอ้างอิงผู้ทรงคุณวุฒิ

ผลการวิจัย พบว่า

1. องค์ประกอบของการบริหารโรงเรียนเพื่อยกระดับเข้าสู่มาตรฐานสากล พบว่า มีจำนวน 5 องค์ประกอบ และตัวแปรในทุกองค์ประกอบมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.74 - 0.96 เรียงตามลำดับ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบรวม คือ องค์ประกอบการบริหารเชิงกลยุทธ์ มีจำนวนตัวแปร 8 ตัวแปร องค์ประกอบการพัฒนาศักยภาพบุคลากร มีจำนวนตัวแปร 6 ตัวแปร องค์ประกอบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีจำนวน 6 ตัวแปร องค์ประกอบการพัฒนาเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ มีจำนวนตัวแปร 4 ตัวแปร และองค์ประกอบการพัฒนาโรงเรียนแบบองค์รวม มีจำนวนตัวแปร 3 ตัวแปร

2. รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อยกระดับเข้าสู่มาตรฐานสากล โดยรูปแบบที่มีความเหมาะสมประกอบด้วย 5 ด้านคือ ด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้านการพัฒนาเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาโรงเรียนแบบองค์รวม

3. การพัฒนาและการประเมินผลรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อยกระดับเข้าสู่มาตรฐานสากล ด้วยวิธีการอ้างอิงผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ทุกด้านมีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และการนำไปใช้ประโยชน์

Abstract

This research aimed to study factors of an educational administration for school upgrading, To create a school administration model for school upgrading and To develop and evaluate the model of education administration for school upgrading to world - class standard. The sample of 312 comprised school administrator, chief academic officer, head of Personnel of school in the project upgrading to world-class standard belong to office of Primary education area, office of the basic education commission by stratified random sampling. The instruments were a semi structured interview and a index of item objective congruence of 0.60 - 1.00, questionnaire with reliability of 0.95 to collect data which were analyzed in terms of percentage, mean, standard deviation exploratory factor analysis and content analysis by connoisseurship.

The finding:

1. Five factor of the educational administration for school upgrading to world-class standard, each variable with factor loading 0.74 - 0.96, were found as written in descending order: strategic management with 6 variables, human resources development with 6 variables, leaner quality development with 6 variables, development of learning management network with 4 variables, and holistic school development with 3 variables.

2. The appropriate model of the educational administration for school upgrading to world-class standard comprised five factors: the strategic management, the human resources development of leaner quality development, the development of learning management network, and the holistic school development.

3. The develop and evaluate the model of for school upgrading to world-class standard assessed through the method of connoisseur was found accurate, appropriate, feasible, and practical.

คำสำคัญ

มาตรฐานสากล, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Keyword

world - class standard, office of the basic education commission

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093