...
...
เผยแพร่: 15 ก.ค. 2562
หน้า: 198-207
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 1762
Download: 287
Download PDF
ปัญหาการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6
The Problem of Using the Basic Education Core Curriculum b.e. 2551 of Schools Under the Office of Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 6
ผู้แต่ง
ศิรินภา เค้านาวัง, สุรินทร์ ภูสิงห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัญหาการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 6 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู เขต 6 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูต่อระดับปัญหาการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 จำแนกตามสถานภาพ เขต 6 จำแนกตาม ตำแหน่งหน้าที่และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ปีการศึกษา 2560 ใน 181 โรงเรียน รวมจำนวนทั้งหมด 246 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 123 คน หัวหน้างานวิชาการ 123 คน ได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie และ Morgan เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .571 - .902 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .982. และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานการวิจัยใช้ t-test แบบ Independent Samples ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. ข้าราชการครูมีความคิดเห็นต่อปัญหาการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา รองลงมา ได้แก่ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และด้านการนิเทศ การกำกับ ติดตาม และวิจัย ตามลำดับ

2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้างานวิชาการต่อปัญหาการการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

3. ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ที่สำคัญ คือ ควรจัดอบรมให้ครูมีความรู้และเข้าใจการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มีการวางแผนในการดำเนินงานให้เป็นระบบและเป็นขั้นเป็นตอนและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้ชัดเจนในการนำมาใช้ในการปฏิบัติและปรับในการเรียนการสอนที่เหมาะสม ด้านการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ ควรวัดผลและประเมินผลก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียนอย่างจริงจังและในการวัดผลแต่ละครั้งเนื้อหาควรตรงกับตัวชี้วัดและเนื้อหาที่สอน เพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียน วัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง และนำผลการวัดและการประเมินผลมาปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และวิจัย ครูผู้สอนในโรงเรียนควรทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการสอนตนเองภาคเรียนละ 1 เรื่อง อย่างจริงจัง ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการนิเทศ ติดตาม ครูผู้สอนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และสถานศึกษาควรมีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง

Abstract

The purposes of this research were: 1) to study the level of the problems of the implementation of Basic Education Core Curriculum - BECC (B.E. 2551) toward the opinions of the teachers under Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 6 (NMA PESAO 6), 2) to compare the opinions of the teachers toward the level of the problems of implementation of BECC (B.E. 2551) of the schools under NMA PESAO 6 classified by positions, and 3) to study the suggestions for solving the problems on the implementation of BECC (B.E. 2551) of the schools under NMA PESAO 6. The samples were 246 teachers from 181 schools under NMA PESAO 6 in the academic year 2017. They were classified as 123 school administrators and 123 heads of the Academic Affairs. The sample size was determined according to Krejcie and Morgan’s tables. The research instruments for collecting the data were the 5-rating scale questionnaires conducted by the researcher with the discrimination range between .571-.902 and the reliability of .982 and the structured interview. The statistics were frequency, percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis was tested by t-test (Independent Samples) and the interview data were analyzed by using content analysis.

The research results revealed that:

1. The teachers had the opinions toward the problems of the implementation of BECC (B.E. 2551) of the schools under NMA PESAO 6 as a whole at a high level. When considering each aspect, it was found that the aspect that had the highest mean scores were the school curriculum making. It was followed by the aspect of measurement and evaluation, and supervision, monitor, and research, respectively.

2. The result of the comparison on the opinions of the school administrators and the heads of Academic Affairs toward the problems of implementation of BECC (B.E. 2551) of the schools under NMA PESAO 6 classified by positions indicated that in overall and each aspect were not difference.

3. The suggestions on the problems of the implementation of BECC (B.E. 2551) of the schools under NMA PESAO 6, the school administrators should promote the training course for the teachers to help them understand the process of curriculum making, set the operational planning systematically and from step by step, understand clearly about the curriculum making in the area of the implementation and adapt it appropriately in the instruction. The aspect of measurement and evaluation, the teachers should measure and evaluate the students before studying, during studying, and after studying intensively. And the measurement should match the contents and the indicators in order to develop the learners’ abilities, use the authentic assessment and its result as the data for changing methods of the instruction to develop the learners’ potential; The aspect of supervision, monitor, and research, the teachers should concentrate and develop their instruction based on the research and conduct at least one research per semester. The school administrators should supervise and monitor the teachers’ instruction continuously. The schools should maintain the research and curriculum development regularly.

คำสำคัญ

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551, โรงเรียนประถมศึกษา

Keyword

The Problem of Using Core Curriculum B.E. 2551, Primary School

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093