บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 2) เปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามขนาดของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและข้าราชการครู จำแนกตามขนาดของโรงเรียน และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภาในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 393 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .953 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ F–test แบบ One-way ANOVA
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภา ในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและข้าราชการครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารด้านวิชาการ รองลงมา ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีและสารสนเทศ และด้านคุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบระดับสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา ตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภาในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและข้าราชการครู จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภา มีดังนี้ ควรพัฒนามุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ควรกำหนดแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้ตรงตามความต้องการผู้เรียนและนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ควรบริหารทรัพยากรมนุษย์ภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่ในสถานศึกษา ควรมีการจัดการข้อมูลข่าวสารสม่ำเสมอ มีการจัดกิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วม มีการช่วยเหลือชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรบริหารระบบสารสนเทศภายในสถานศึกษาให้เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของครู นักเรียนและผู้รับบริการอย่างมีประสิทธิภาพ และควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการประพฤติปฏิบัติตน ในการปฏิบัติตนทั้งในด้านการทำงาน การดำเนินชีวิตและความเป็นกัลยาณมิตร
Abstract
The research aimed: 1) to study the level of the based on the professional standards of the Teacher Council in the school administration under the Secondary Educational Service Area Office 30 (SESAO 30), 2) to compare the opinions of the school administrators and teachers based on the school administrators' competencies classified by school size, and 3) to study the suggestions for developing the school administrators' competencies based on the professional standards of Teacher Council in the school administration. The samples were 393 school administrators and teachers under SESAO 30 in the academic year 2018. The sample size was calculated by using Krejcie and Morgan’s Sample Size Tables and then Cluster Random Sampling was employed to select the samples. The instruments for collecting the data were a set of 5-rating scale questionnaire conducted by the researcher with the reliability of .953 and structured interview. The statistics for analyzing the data were frequency, percentage, mean, standard deviation and the hypothesis was tested by using F-test (One-Way ANOVA).
The research results revealed as follows:
1. The level of the school administrators’ competencies based on the professional standards of Teacher Council in the school administration under SESAO 30 toward the opinions of the school administrators and teachers in overall was at a high level. When considering each aspect, the highest mean scores were the aspect of the administration and the academic affairs. It was followed by the technology and information administration and morality of the school administrators, respectively.
2. The result of the comparison on the opinions of the school administrators and teachers toward the school administrators' competencies based on the professional standards of the Teacher Council classified by school size, in overall was significantly different at the level of .05.
3. The suggestions for developing the school administrators’ competencies based on the professional standards of the Teacher Council: The school administrators should focus on the learning achievement in accordance with the policy of the Ministry of Education. They should set the short-term and long-term school action plan focusing on the weakness and the strengths of the community and the organization and employ them as the basis for data analysis. They should set up the school annual action plan in line with the policy of the Ministry of Education and relevant organizations. They should organize the curriculum to meet the needs of the students and the policy of the Ministry of Education. They should manage the human resources under the constraints of the schools by setting the operating committees of the School Quality Assessment Group in order to supervise, examine, and summarize the operation for internal and external assurance evaluation. They should manage an appropriate and sufficient information technology system for the teachers, students, and clients. They should be a good role model both in their working and life styles.
คำสำคัญ
สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา, มาตรฐานวิชาชีพคุรุสภา, การบริหารสถานศึกษาKeyword
school administrator’s competencies, school administratorกำลังออนไลน์: 29
วันนี้: 575
เมื่อวานนี้: 1,728
จำนวนครั้งการเข้าชม: 63,580
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093