...
...
เผยแพร่: 15 ก.ค. 2562
หน้า: 138-147
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 432
Download: 196
Download PDF
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้การเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ ความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
The Development of Computer-Assisted Instruction based on 4MAT Model and the Sufficiency Economy Affects the Analytical Thinking, Responsibilities and Learning Achievements for Mattayomsuksa 1 Students
ผู้แต่ง
ณัฐวัตร เขียวดี, มารศรี กลางประพันธ์, สมเกียรติ พละจิตต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ 3) เปรียบเทียบความรับผิดชอบของนักเรียน 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ความรับผิดชอบ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้การเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนกลุ่มสูง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มต่ำ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาแกสามัคคีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้การเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 6 หน่วยการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ 3) แบบทดสอบวัดความรับผิดชอบ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t–test for Dependent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–Way ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ (One–Way MANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One–Way ANCOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ ความรับผิดชอบ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ เท่ากับ 81.00/85.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

2. การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ความรับผิดชอบ ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ .05

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. ความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนที่ต่างกัน หลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการคิดวิเคราะห์ ความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5.1 นักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่างกันมีการคิดวิเคราะห์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ สูง มีค่าเฉลี่ยการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ ปานกลาง และต่ำ นักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ ปานกลาง มีค่าเฉลี่ยการคิดวิเคราะห์ สูงกว่านักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ ต่ำ

5.2 นักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่างกันมีความรับผิดชอบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ สูง มีค่าเฉลี่ยความรับผิดชอบสูงกว่านักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ ปานกลาง และต่ำ นักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ ปานกลาง มีค่าเฉลี่ยความรับผิดชอบสูงกว่านักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ ต่ำ

5.3 นักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่างกันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ สูง มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ ปานกลาง และต่ำ นักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ ปานกลาง มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ ต่ำ

Abstract

The research has five objectives. 1) To develop a computer-assisted instruction, based on 4MAT model and the sufficiency economy concept, for the subject of Information Technology and Communication for Mattayomsuksa 1 to achieve the efficiency standard of 80/80. 2) To compare students’ analytical thinking. 3) To compare students’ responsibilities. 4) To compare learning achievements. 5) To compare the pretest and posttest of the analytical thinking, responsibilities, and learning achievements of 35 students who used the computer-assisted instruction, divided into three groups of high, medium, and low according to their academic score. These students are in Mattayomsuksa 1 at Nakaesamakkiwittaya School, The Secondary Educational Service Area Office 22, and are selected by Cluster Random Sampling method. The research tools include: 1) six module of a computer-assisted instruction, based on 4MAT model and the sufficiency economy concept, 2) a test of students’ analytical thinking, 3) a test of students’ responsibilities 4) a test of learning achievements, and 5) a test of emotional intelligence by Department of Mental Health, Ministry of Public Health. The statistics used in this research include percentage, mean, standard deviation, T–test analysis, one-way Analysis of Variance (ANOVA), Multivariate Analysis of Variance (MANCOVA), and one way Analysis of Covariance (ANCOVA).

The findings of this research are as follows.

1. The computer-assisted instruction, based on 4MAT model and the sufficiency economy concept affects the analytical thinking, responsibilities, and learning achievements, as the score is 81.00/85.14

2. The students’ analytical thinking increased after using the computer-assisted Instruction at the .05 level of significance.

3. The students’ responsibilities increased after using the computer-assisted Instruction at the .05 level of significance.

4. The students’ learning achievements increased after using the computer-assisted Instruction at the .05 level of significance.

5. Students with different emotional intelligence have different result of analytical thinking, responsibilities, and learning achievements after using the computer-assisted Instruction at the .05 level of significance, which are:

5.1 Students with high emotional intelligence got higher analytical thinking score than students with medium and low emotional intelligence. Likewise, students with medium emotional intelligence got higher analytical thinking score than students with low emotional intelligence.

5.2 Students with high emotional intelligence got higher responsibility score than students with medium and low emotional intelligence. Likewise, students with medium emotional intelligence got higher responsibility score than students with low emotional intelligence.

5.3 Students with high emotional intelligence got higher learning achievements score than students with medium and low emotional intelligence. Likewise, students with medium emotional intelligence got higher learning achievements score than students with low emotional intelligence.

คำสำคัญ

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, 4MAT, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, การคิดวิเคราะห์, ความรับผิดชอบ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Keyword

Computer-assisted Instruction, 4MAT, Sufficiency Economy, Analytical Thinking, Responsibilities, Learning Achievements

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093