...
...
เผยแพร่: 15 ก.ค. 2562
หน้า: 128-137
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 803
Download: 215
Download PDF
การพัฒนาการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะ วิทยาศาสตร์ โดยการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E ร่วมกับ 4MAT สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
The Development of Solving. Analytical Thinking and Learning Achievements Set of Skill Packages by Using 7E Learning Cycle Model. with 4MAT Technique for Prathom sueksa 6 Students
ผู้แต่ง
ปิยะภรณ์ ภาคทอง, มารศรี กลางประพันธ์, สมเกียรติ พละจิตต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้  7E ร่วมกับ 4MAT ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) เปรียบเทียบการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยชุดฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E ร่วมกับ 4MAT สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำแนกตามระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนกลุ่มสูง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มต่ำ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านคำนกกก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E ร่วมกับ 4MAT สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 11 ชุด 2) แบบทดสอบวัดการแก้ปัญหา 3) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t–test for Dependent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–Way ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ (One–Way MANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One–Way ANCOVA)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ชุดฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E ร่วมกับ 4MAT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เท่ากับ 81.41/82.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

2. การแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E ร่วมกับ 4MAT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E ร่วมกับ 4MAT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E ร่วมกับ 4MAT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

5. นักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่างกัน หลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E ร่วมกับ 4MAT ด้านการแก้ปัญหามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 3 คู่ ได้แก่ คู่ที่ 1 นักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูง มีค่าเฉลี่ยการคิดแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ปานกลาง คู่ที่ 2 นักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูง มีค่าเฉลี่ยการคิดแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ และคู่ที่ 3 นักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ปานกลาง มีค่าเฉลี่ยการคิดแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ ด้านการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน

Abstract

The objectives of the study were: 1) to develop set of skill packages by using 7E Learning Cycle Model, with 4 MAT is efficiency 80/80 2) to compare student’s solving, analytical Thinking and learning achievements of them 3) to compare solving, analytical thinking and learning achievements of using set of skill packages which using 7E Learning Cycle Model, with 4 MAT for Prathomsueksa 6 students by classifying level of student’s Emotional Quotient (EQ) in bright normal group, normal group and dull normal group between pre-test and post-test. A sample was selected from Prathomsueksa 6 students, Khamnokkok school, Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2, school year 2016 20 cases were included as a Cluster random sampling. Experimentation equipment’s were 1) 11 set of science skill packages which using 7E Learning Cycle Model, with 4MAT for Prathomsueksa 6 students 2) solving problem test 3) analytical thinking test 4) learning achievements test and 5) Emotional Quotient test (EQ test). Collection attendance behavior was analyzed by using Percentage, Mean, Standard Deviation, Effective of learning, Dependent Samples T-Test, One–Way ANOVA, One–Way MANCOVA and One–Way ANCOVA.

Finding of this study were as follows:

1. Set of science skill packages which using 7E Learning Cycle Model, with 4MAT of Prathomsueksa 6 students is efficiency 81.41/82.00 which higher basis than 80/80

2. Solving problem of Prathomsueksa 6 students which using 7E Learning Cycle Model, with 4MAT was statistically significant higher than before at .05

3. Analytical thinking of Prathomsueksa 6 students which using 7E Learning Cycle Model, with 4MAT was statistically significant higher than before at .05

4. Learning achievements of Prathomsueksa 6 students which using 7E Learning Cycle Model, with 4MAT was statistically significant higher than before at .05

5. After student who have a different Emotional Quotient (EQ) studied with the set of skill packages by using 7E Learning Cycle Model, with 4MAT. Solving are different statistically significant at .05 in 3 way as follow: 1) Bright normal student’s group have Mean of solving higher than normal student’s group 2) Bright normal student’s group have Mean of solving higher than dull normal student’s group and 3) Normal student’s group have Mean of solving higher than dull normal student’s group. Analytical thinking and Learning achievements was the same statistically significant at.

คำสำคัญ

ชุดฝึกทักษะ, การเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E, เทคนิคการสอน 4MAT, การแก้ปัญหา, การคิดวิเคราะห์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Keyword

Set of Skill Packages, 7E Learning Cycle Model, 4MAT, Solving, Analytical Thinking, Learning Achievements

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093