...
...
เผยแพร่: 15 ก.ค. 2562
หน้า: 75-84
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 525
Download: 166
Download PDF
การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ โรงเรียนหนองแวงวิทยานุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
Teacher Development on Learning Management Emphasizing Critical Thinking at NongWeang Witthayanukul School under The Office of Secondary Educational Service Area 22
ผู้แต่ง
มณฑิตา สุตัญตั้งใจ, สวัสดิ์ โพธิวัฒน์, สุรพล บุญมีทองอยู่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาในการจัดการเรียนรู้ของครู ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ โรงเรียนหนองแวงวิทยานุกูล 2) พัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ โรงเรียนหนองแวงวิทยานุกูล ตามทางเลือกและแผนปฏิบัติการร่วมกัน และ 3) ติดตามผลการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ โรงเรียนหนองแวงวิทยานุกูล

กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และนักเรียนโรงเรียนหนองแวงวิทยานุกูล จำแนกเป็น กลุ่มผู้ร่วมวิจัยจำนวน 19 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 57 คน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยแบ่งวิธีการดำเนินงานวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเตรียมการวิจัย ระยะที่ 2 การปฏิบัติการวิจัย 2 วงรอบ และระยะที่ 3 การสรุปผลการพัฒนา เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบประเมินตนเอง แบบสังเกตพฤติกรรม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการนิเทศ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพดำเนินการโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพปัจจุบัน และปัญหาในการจัดการเรียนรู้ของครู ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ โรงเรียนหนองแวงวิทยานุกูล 1) สภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้ คือ ครูมีการจัดการเรียนรู้ไม่ได้มุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ ทำให้นักเรียนขาดการเชื่อมโยงและการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 2) ปัญหาในการจัดการเรียนรู้ คือ ครูไม่ได้รับการพัฒนาในการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ และครูขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์

2. การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามทางเลือกและแผนปฏิบัติการร่วมกัน ในวงรอบที่ 1 ใช้แนวทางการพัฒนาประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การนิเทศติดตาม และในวงรอบที่ 2 ใช้แนวทางการพัฒนาคือ การนิเทศแบบให้คำชี้แนะ

3. ผลการติดตามการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ พบว่า 1) ครูมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ครูสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ส่งผลให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were: 1) to investigate current conditions and problems concerning teachers’ learning management emphasizing critical thinking at NongWeangWitthayanukul School under the Office of Secondary Educational Service Area 22; 2) to develop teachers in learning management emphasizing critical thinking, and 3) to follow up the development of teachers in learning management emphasizing critical thinking.

The target group consisted of school directors, teachers and students at NongWeangWitthayanukul School under the Office of Secondary Educational Service Area 22, comprising 16 co-researchers and 57 informants. The research employed Participatory Action Research consisting of three stages: Stage I was related to research preparation; Stage II was related to conducting research with two spirals; and Stage III was related to summarizing the results after the intervention. The instruments used for data collection were a set of questionnaires, a form of self-assessment, a form of behaviors ‘observation, a form of interview, and a supervision record form. Content analysis was employed for qualitative data in forms of content classification and descriptive presentation. Quantitative data were analyzed by mean, percentage, and standard deviation.

The findings of this research were as follows:

1. The current conditions and problems concerning teachers in learning management emphasizing critical thinking at NongWeangWitthayanukul School revealed that:

1.1 In terms of current conditions, teachers did not incorporate critical thinking into their learning management. Therefore, the teachers agreed that a lack of chance to practice critical thinking caused the students’ constraints in improving their knowledge construction; and 2) In terms of problems, teachers have not been trained for learning management emphasizing critical thinking. Teachers also lacked of precise knowledge and comprehension in learning management focusing on critical thinking.

2. The development of teachers in learning management emphasizing critical thinking was carried out in accordance with a mutually agreed– upon option and actaplanin the first spiral comprising: 1) a workshop, and 2) a supervision monitoring. In the second spiral, a coaching supervision was employed.

3. The effects after the intervention showed that: 1) Teachers gained knowledge and understanding on learning management emphasizing critical thinking at the highest level, 2) Teachers were able to write lesson plans emphasizing critical thinking at the highest level, and 3) The development of teachers in learning management had a profound effect on students’ learning behaviors in terms of critical thinking at the highest level.

คำสำคัญ

การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้, ทักษะการคิดวิเคราะห์

Keyword

Teacher’s Development in Learning Management, Critical Thinking

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093