...
...
เผยแพร่: 15 ก.ค. 2562
หน้า: 63-74
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 256
Download: 159
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตและใช้สื่อมัลติมีเดีย เพื่อการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนบ้านต้นผึ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
The Development of Teachers’ Competence in Producing and Using Multimedia for English Learning Management at Ban Tonphueng School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2
ผู้แต่ง
ธีปะกร ศรีจันทร์, วัฒนา สุวรรณไตรย์, ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและปัญหา หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตและใช้สื่อมัลติมีเดีย เพื่อการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนบ้านต้นผึ้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์และการสะท้อนผล โดยดำเนินการ 2 วงรอบ มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 จำนวน 7 คน และผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย จำนวน 95 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบทดสอบ แบบประเมินและแบบสังเกต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละความก้าวหน้า

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและปัญหาการผลิตสื่อมัลติมีเดียของครูโรงเรียนบ้านต้นผึ้ง พบว่า

1.1 สภาพการผลิตและใช้สื่อมัลติมีเดีย พบว่า ครูผู้สอนมีการผลิตและใช้สื่อมัลติมีเดียในการจัดการเรียนการสอนน้อยมาก

1.2 ปัญหาเกี่ยวกับการผลิตสื่อมัลติมีเดีย พบว่า โรงเรียนไม่มีโครงการพัฒนาครูด้านการผลิตและใช้สื่อมัลติมีเดีย ครูขาดทักษะและประสบการณ์ ในการผลิตสื่อมัลติมีเดีย ไม่มีความรู้ความเข้าใจในหลักการผลิตสื่อมัลติมีเดีย โรงเรียนขาดการกระตุ้นให้ครูปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียในชั้นเรียน และไม่มีบุคคลผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ คำแนะนำต่างๆ ในการผลิตและใช้สื่อมัลติมีเดีย และเอกสารตำราที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสื่อมัลติมีเดียมีน้อยมาก

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครู ในการผลิตและใช้สื่อมัลติมีเดียของโรงเรียนบ้านต้นผึ้ง ประกอบด้วย 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การนิเทศภายในเพื่อติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตและใช้สื่อมัลติมีเดีย พร้อมให้คำแนะนำ คำปรึกษา และนิเทศแบบสอนแนะ ในวงรอบที่ 2

3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตและใช้สื่อมัลติมีเดีย เพื่อการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนบ้านต้นผึ้ง พบว่าครูผู้สอนผลิตสื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ และสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในวิชาภาษาอังกฤษได้ และนักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were to investigate conditions and Problems, and to establish guidelines for developing teachers’ competence in Producing and using multimedia at Ban Tonphueng School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2. This participatory action Research employed the two-spirals of four stages of planning, action, observation, and reflection. The target group consisted of seven English teachers and 95Informants. The research instruments were a set of questionnaires, an interview form, a test, an assessment form and an observation form. Quantitative data were analyzed by mean, percentage, standard deviation and percentage of progress.

The findings of this research were as follows:

1. The conditions and problems of producing multimedia of teachers in Ban Tonphueng School revealed that:

1.1 Conditions in producing and using multimedia, teachers produced and used multimedia in teaching and learning management were limited.

1.2 In terms of problems in producing multimedia, the school did not provide a training project for developing teachers in producing and using multimedia. Therefore, teachers lacked skills and experience in producing multimedia and knowledge and understanding principles of multimedia production. In addition, the school did not provide encouragement for teachers to improve their multimedia practice and experts to provide guidance of multimedia production and application. Relevant textbooks or documents concerning producing multimedia were limited.

2. The guidelines for developing teachers’ competence in producing and using multimedia at Ban Tonphueng School comprised 1) A workshop, and 2) Internal supervision for further following up and assessing the effects after the intervention. In the second spiral, coaching supervision was employed.

3. The effects after the development of teachers’ competence in producing and using multimedia for English learning management at Ban Tonphueng School revealed that teachers produced quality multimedia and put them into practice. Students’ satisfaction toward learning using multimedia was at the highest level.

คำสำคัญ

การพัฒนาศักยภาพครู, การผลิตและใช้สื่อมัลติมีเดีย

Keyword

Development of Teachers’ Competence, Producing and Using Multimedia

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093