บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของรองผู้บริหารฯฝ่ายบริหารงานวิชาการหรือหัวหน้างานบริหารวิชาการและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และสังกัดของโรงเรียน เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครพนมให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร รองผู้บริหารฯ หรือหัวหน้างานบริหารวิชาการและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 และ เขต 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 360 คน จำแนกเป็นกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 120 คน รองผู้บริหารฯฝ่ายบริหารงานวิชาการหรือหัวหน้างานบริหารวิชาการ จำนวน 120 คน และครูผู้สอน จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประเมินค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples สถิติทดสอบเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOWA)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อย
3. ผู้บริหาร รองผู้บริหารฯหรือหัวหน้างานบริหารวิชาการและครูผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม โดยรวมไม่แตกต่างกัน
4. ผู้บริหาร รองผู้บริหารฯหรือหัวหน้างานบริหารวิชาการและครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการทำงาน ขนาดโรงเรียนและสังกัดของโรงเรียน แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารงานโรงเรียน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน
5. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ เสนอแนะไว้ 7 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการวัดผล ประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน สถานศึกษาต้องกำหนดระเบียบแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผลให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา 1) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ครูผู้สอนต้องศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระ 2) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน และมาตรฐานการศึกษา สถานศึกษาต้องมีการจัดระบบโครงสร้างองค์กร ให้รองรับการจัดระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 3) ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น สถานศึกษาต้องมีการประสานความร่วมมือช่วยเหลือโดยการวิจัยจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4) ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา ต้องจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดการศึกษากับสถาบันอื่นอย่างต่อเนื่อง 5) ด้านการจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา วางแผนการจัดทำแผนงานวิชาการ การดำเนินงาน ตามแผนงาน มีการประชุม วางแผน ชี้แจงแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการปฏิบัติงานในทิศทางเดียวกัน ส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนางานวิชาการ 6) ด้านการคัดเลือกหนังสือแบบเรียน เพื่อใช้ในสถานศึกษา ผู้บริหาร และครูผู้สอนต้องศึกษา วิเคราะห์หลักสูตร แล้วเลือกใช้หนังสือให้สอดคล้องกับหลักสูตร รวมถึงคำนึกถึงความต้องการของผู้เรียน
Abstract
The purposes of this research were to: study and compare the opinion about state and problem of academic administration in schools under the Office of Nakhon Phanom Province as perceived by school administrator, academic deputy director or academic teacher and teachers, school administrator, academic deputy director or academic teacher and teachers with different experience, different school size, different service area and find a way in developing academic administration in schools.
The sample consisted of a total of 360 participants including 120 school administrators, 120 academic deputy director and 120 teachers in school under the Office of Nakhon Phanom Province in the 2017 academic year. The instrument for data collection was a set of questionnaires. The statistics used foe data analysis were mean, standard deviation, t – test (Independent Samples), F – test (One – Way ANOVA)
The findings were as follows:
1. The state of Academic administration in schools, as a whole was at the high level.
2. The problems of academic as administration in schools, as a whole was at the sides were level.
3. The school administrators academic deputy director and teachers opinions about the state and problem of academic Administration in schools were not different.
4. The school administrators academic deputy director and teachers opinions with different experience, different school size different service area were not different.
5. The Academic Administration in schools should be developed in 7 aspect : measuring the assessing and transfer of learning, research to improve the quality of education, the development of quality assurance in education, the cooperation in the development of education institutions and other organizations, the academic support to individuals, families, organizations and agencies other educational institutions.
คำสำคัญ
การบริหารงานวิชาการKeyword
Academic Affairs Administrationกำลังออนไลน์: 128
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,893
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,092
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093