...
...
เผยแพร่: 29 มิ.ย. 2568
หน้า: 344-355
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 4
Download: 3
Download PDF
กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา
Digital Leadership Development Strategies of School Administrators under Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office
ผู้แต่ง
สรศักดิ์ ศรีนครินทร์, ประหยัด ภูมิโคกรักษ์, พิกุล ภูมิโคกรักษ์
Author
Sorasak Srenukkarin, Prayad Bhoomkhokrak, Pikul Bhoomkhokrak

บทคัดย่อ

    การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษากรอบแนวคิดการพัฒนาภาวะผู้นำและภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน พัฒนาและประเมินกลยุทธ์
การพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase mixed Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถามและแบบบันทึก การสนทนากลุ่ม ประชากร คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1,304 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง 306 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 2 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวนทั้งสิ้น 612 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
    ผลการวิจัยพบว่า 
        1. องค์ประกอบที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการสื่อสารดิจิทัลและการรู้ดิจิทัล
        2. กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ กลยุทธ์การพัฒนาการรู้ดิจิทัลด้วยเครือข่ายความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์การเสริมสร้างระบบการนิเทศ ติดตาม
บนฐานเทคโนโลยี และกลยุทธ์การเสริมสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษาอย่างยั่งยืน มี 6 กลยุทธ์รองและ 29 แนวทางปฏิบัติ
        3. ผลการประเมินกลยุทธ์ ด้านความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก

Abstract

    This research purposes were to study examine the research framework of leadership development and digital leadership of school administrator, study the Priority Needs Index, create strategies for the development of digital leadership and evaluate strategies for the development of digital leadership for school administrators under Primary Educational Service Area Office in Nakhon Ratchasima. Multiphase mixed methodology with research tools was research framework confirmation form, questionnaire, and record form for group discussion. Population was 1,304 schools under Primary Educational Service Area Office in Nakhon Ratchasima. Samples were 306 school.  Two respondents per school are the school administrators. and teachers, in total 612 people. Statistics used in data analysis were mean and standard deviation. 
    The research found that: 
        1. The priority needs index of digital leadership elements the highest trait is the digital communication and digital literacy 
        2. Digital Leadership Development Strategies of School Administrators were 
        3. main strategies; those were strategies for developing effective of digital literacy using collaborative networks, strategies for enhancing the system of supervision monitoring and evaluation for educational based on technology, and strategies for enhancing the sustainability of digital culture in school management. In addition, there were 6 sub - strategies and 29 practiced. And 3) The evaluation strategies for the development of digital leadership for school administrators of appropriateness was in the highest level while the possibility was in a high level.

คำสำคัญ

กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำดิจิทัล

Keyword

Development Leadership Strategies, Digital Leadership.

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0093

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093