บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 จำแนกตามประสบการณ์การทำงานและขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 315 คน โดยใช้ตารางเปรียบเทียบของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970) ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t - test และ f - test แบบ Dependent Sample และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่วิธีการ ของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการปรับตัวและมีความยืดหยุ่นในการทำงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการทำงานเป็นทีม
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 โดยจำแนกตามขนาดของสถานศึกษาและประสบการณ์การทำงาน พบว่า ขนาดของสถานศึกษาและประสบการณ์การทำงาน ในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 พบว่า มีแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ได้แก่
3.1 ควรส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ติดต่อและประสานงานกับบุคลากรในแต่ละฝ่ายงานได้ สามารถจูงใจให้เห็นความสำคัญของการทำงานเป็นทีม และส่งเสริมบรรยากาศในการทำงาน
3.2 ควรจัดการฝึกอบรมผู้บริหารสถานศึกษา ให้มีภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อให้ผู้บริหารมีศักยภาพในการบริหารสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.3 ควรสนับสนุนให้ผู้บริหารนำหลักวิชาการมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
3.4 การฝึกอบรมผู้บริหาร ต้องกำหนดให้ผู้เข้าอบรมเขียนวิสัยทัศน์และพันธกิจ รวมถึงกลยุทธ์ของสถานศึกษาได้อย่างชัดเจน
Abstract
The objectives of this study were to 1) study creative leadership of school administrators under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 4, 2) compare creative leadership of school administrators under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 4, classified by work experience and school’s size and 3) study guidelines for developing creative leadership of school administrators under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 4. The sample group consisted of school administrators and teachers, with the total number of 315 people. The sample size was determined by Krejcie and Morgan's table (Krejcie and Morgan, 1970), using stratified random sampling method. The tool used in research was a 5-level rating scale questionnaire with reliability of the whole document at 0.98. The statistics used to analyze data comprised frequency, percentage, mean, standard deviation, dependent sample t-test and f-test, and multiple comparison by Scheffe's method.
The study results were found that:
1. Creative leadership of school administrators under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 4, in overall, was rated at a high level, when considering each aspect, it was found that every aspect was rated at a high level, the aspect with the highest average was adaptability and flexibility in working and the aspect with the least average was teamwork.
2. The comparison results of opinions administrators and teachers about creative leadership of school administrators under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 4, classified by school size and work experience, were found that the school’s size and work experience, in overall and each aspect, were different with statistical significance at .05 level.
3. Guidelines for developing creative leadership of school administrators under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 4 were found that the guidelines for developing creative leadership of school administrators under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 4 were as follows:
3.1 There should be promotion for teamwork, contact and coordination with personnel in each department, motivation to realize the importance of teamwork and working atmosphere.
3.2 There should be organizing training for school administrators to have creative leadership of school administrators to have potential in school administration effectively.
3.3 Administrators should be encouraged to apply academic principle for solving operational problems systematically.
3.4 Administrators should be trained to be able to write vision and mission and school’s strategy clearly.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, ผู้บริหารสถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4Keyword
Creative Leadership, School Administrators, Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 4กำลังออนไลน์: 24
วันนี้: 409
เมื่อวานนี้: 4,077
จำนวนครั้งการเข้าชม: 591,603
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093