...
...
เผยแพร่: 29 มิ.ย. 2568
หน้า: 322-333
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 3
Download: 2
Download PDF
ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
Digital Leadership of School Administrators Affecting The effectiveness of Academic Affairs Administration Schools in Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
โสภณัฐ พาแสง, จินดา ลาโพธิ์, ภิญโญ ทองเหลา
Author
Sophanat pasang, Jinda Lapho, Pinyo Thonglao

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 345 คน จำแนกเป็นกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 80 คน และครูผู้สอนจำนวน 265 คน จาก 80 โรงเรียน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตาราง ของ Krejcie and Morgan และใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถาม ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษามีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.813 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.263 - 0.720 และแบบสอบถาม ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ 0.843 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.482 - 0.710 สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t – test และ F – test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน 
    ผลการวิจัยพบว่า
        1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
        2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมพบว่า ไม่แตกต่างกัน
        3. ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมพบว่า ไม่แตกต่างกัน
        4. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง
        5. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา มีจำนวน 3 ด้าน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการปฏิบัติที่เป็นเลิศอย่างมืออาชีพ (X2) ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในโลกดิจิทัล (X3) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถในการใช้ดิจิทัล (X4)
        6. การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 ด้าน คือ 1) ด้านการปฏิบัติที่เป็นเลิศอย่างมือ 2) ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในโลกดิจิทัล 3) ด้านความสามารถในการใช้ดิจิทัล ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการไว้ด้วย

Abstract

    This research aims to study the digital leadership of school administrators that affects the effectiveness of academic administration of schools under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2. The sample group used in the research is Educational institution administrators and teachers Under the jurisdiction of the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office, Area 2, academic year 2023, there are 345 people, classified as 80 school administrators and 265 teachers from 80 schools The sample size was determined according to Krejcie and Morgan's table and a multistage random sampling method was used. The tools used were questionnaires and interviews. The questionnaire was about digital leadership of school administrators. It has a reliability value of 0.813 and a discriminatory power value between 0.263 - 0.720 and the questionnaire on the effectiveness of academic administration 0.843 and the discriminant power value is between 0.482 - 0.710. Statistics used in Data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, t - test and F - test, one - way analysis of variance. Simple Pearson's correlation coefficient analysis and multiple regression analysis at each step
    The findings were as follows:
        1. The digital leadership of educational institution administrators and the overall effectiveness of academic administration at the highest level.
        2. Comparative results of digital leadership of school administrators According to the opinions of school administrators and teachers Classified by position status School size Overall work experience was found to be no different.
        3. Effectiveness of academic administration According to the opinions of school administrators and teachers Categorized by position status, school size, and work experience, overall it was found that there were no differences
        4. Digital leadership of school administrators and the effectiveness of academic administration There is a positive relationship. Statistically significant at the .01 level with a moderate relationship
        5. There are 3 aspects of digital leadership of educational institution administrators, with statistical significance at the .01 level, 2 aspects: professional excellence practices (X2), and creating a learning culture in the digital world (X3) and has statistical significance at the .05 level for 1 aspect, namely the ability to use digital (X4)
        6. This research has presented guidelines for developing the digital leadership of school administrators in 3 areas: 1) the area of professional excellence, 2) the aspect of creating a learning culture in the digital world, 3) the aspect of being able to Digital use that affect the effectiveness of academic administration as well

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำดิจิทัล, ประสิทธิผล, การบริหารงานวิชาการ

Keyword

Digital Leadership, Effectiveness, Academic Administration

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0093

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093