...
...
เผยแพร่: 29 มิ.ย. 2568
หน้า: 303-311
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 7
Download: 1
Download PDF
การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับการใช้คำถาม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
A Development of Analytical Thinking Ability and Computational Science Learning Achievement Using 5E Inquiry - Based Learning Activities and Questions of the Fourth Grade Students
ผู้แต่ง
สาวิตรี ผกามาศ, พีชาณิกา เพชรสังข์
Author
Sawitree Pakamas, Peechanika Pechsung

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับการใช้คำถามระหว่างก่อนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับการใช้คำถามกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) ศึกษาพัฒนาการความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับการใช้คำถาม กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านท่าไม้ลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับการใช้คำถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.23 – 0.65 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.25 – 0.75 ค่าความเชื่อมั่น 0.92 และ 3) แบบประเมินความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมินก่อนเรียน มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.47 – 0.63 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.33 – 0.67 และค่าความเชื่อมั่น 0.84 ฉบับที่ 2 แบบประเมินหลังเรียน มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.30 – 0.60 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.27 – 0.73 ค่าความเชื่อมั่น 0.85 ฉบับที่ 3 - 6 เป็นแบบประเมินระหว่างเรียนครั้งที่ 1 - 4 ฉบับที่ 3 มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.43 – 0.67 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.40 – 0.73 และค่าความเชื่อมั่น 0.78 ฉบับที่ 4 มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.33 – 0.53 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.53 – 0.80 ค่าความเชื่อมั่น 0.85 ฉบับที่ 5 มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.43 – 0.63 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.33 – 0.80 ค่าความเชื่อมั่น 0.73 ฉบับที่ 6 มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.43 – 0.67 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.40 – 0.73 ค่าความเชื่อมั่น 0.75 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
    ผลการวิจัยพบว่า
        1. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับการใช้คำถามหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 
        2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับการใช้คำถามสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 12.56 คะแนน จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน
        3. พัฒนาการความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับการใช้คำถามมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ย 1.88, 2.56, 3.13 และ 3.81 ตามลำดับ

Abstract

    The purposes of this research were to 1) compare the analytical thinking ability of students taught by using 5E inquiry - based activities and questions before and after learning, 2) compare the computational science learning achievement of students taught by using 5E inquiry-based activities and questions against the 80 percent criterion, and 3) study development of analytical thinking ability of students taught by using 5E inquiry - based activities and questions. The target group were 16 students who were studying at the 4th grade of Bantamailai school, Chumphon Primary Education Service Area Office 1 in the second semester of academic year 2023. Research instruments were 1) lesson management plan using 5E inquiry - based activity and questions (IOC = 1), 2) learning achievement test (p = 0.23–0.65, r = 0.25 – 0.75, reliability = 0.92), and 3) six analytical thinking ability assessment forms as follows: form 1: pre - learning assessment (p = 0.47 – 0.63, r = 0.33 – 0.67, reliability = 0.84), form 2: after -learning assessment (p = 0.30 – 0.60, r = 0.27 – 0.73, reliability = 0.85), form 3 - 6 are between - learning assessment forms; form 3 (p = 0.43 – 0.67, r = 0.40 – 0.73, reliability = 0.78), form 4 (p = 0.33 – 0.53, r = 0.53 – 0.80, reliability = 0.85), form 5 (p = 0.43 – 0.63, r = 0.33 - 0.80, reliability = 0.73), form 6 (p = 0.43 – 0.67, r = 0.40 – 0.73, reliability = 0.75). Data were analyzed by using mean and standard deviation.
    The results of the study revealed that
        1. Analytical thinking ability of the students taught by using 5E inquiry - based learning activities and questions were higher than those before.
        2. Computational science learning achievement of the students taught by using 5E inquiry - based learning activities and questions were higher than 80 percent with an average score of 12.56 points out of a full score of 15 points.
        3. Development of analytical thinking ability of the students taught by using 5E inquiry - based activities and questions showed a trend of improvement with averages 1.88, 2.56, 3.13, and 3.81 respectively.

คำสำคัญ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E, การใช้คำถามเป็นฐาน

Keyword

Learning Achievement Using 5E Inquiry, Based Learning Activities and Questions

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0093

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093