บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์และหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 328 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 74 คน และครูผู้สอน จำนวน 254 คน จากโรงเรียน 74 โรงเรียน จำแนกเป็นกลุ่มวิธีสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi - stage Random Sampling) โดยใช้ขนาดของโรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียน ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.940 และค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามรายข้ออยู่ระหว่าง 0.269 – 0.750 และประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.962 และค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามรายข้ออยู่ระหว่าง 0.451 – 0.798 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t - test) ชนิด Independent Samples สถิติทดสอบค่าเอฟ (F - test) แบบ One - way ANOVA, ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s product – moment correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
4. ประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
5. ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง (rXY = .821) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร จำนวน 5 ด้าน พบว่า มีจำนวน 5 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน ได้แก่ ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และภาวะผู้นำด้านการสื่อสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ และภาวะผู้นำด้านวิสัยทัศน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 68.30 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±0.20342
7. การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมของโรงเรียน จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม โดยผู้บริหารสถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงานของโรงเรียน 2) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยผู้บริหารมีการสร้างแรงบันดาลใจ มีการทำงานเป็นทีม 3) ภาวะผู้นำด้านการสื่อสาร โดยผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนรับรู้ร่วมกัน โดยใช้สัญลักษณ์และระบบในการสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน 4) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ โดยผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีการคิดหาแนวทางแก้ไข หรือรับมือในทางที่สร้างสรรค์ 5) ภาวะผู้นำด้านวิสัยทัศน์ โดยผู้บริหารสถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการระดมความคิด วางแผน และกำหนดทิศทางของสถานศึกษา
Abstract
This correlational research aimed to examine, compare, and identify the relationship, determine the predictive power and guidelines for developing leadership of school administrators affecting school – community relationship operations under The Office of Sakon Nakhon Primary Education Service Area 3 were classified by positions and school sizes. The sample group obtained through multi - stage sampling, consisted of 328 participants, including 80 school administrators, 254 teachers, 74 chairman of basic education school board committees in school from 80 schools in the academic year 2023. The material used to collect data was a 5 - point rating scale questionnaire, the desirable leadership questionnaire had the discriminative index range from .269 to .750 and the overall reliability was at .940 The school – community relationship operations’ questionnaire had the discriminative index range from .451 to .798 and the overall reliability was at .962 Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient, One - Way ANOVA, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. The leadership of school administrators had the overall range at the highest level.
2. The school – community relationship operations had the overall range at the highest level.
3. The strategic leadership of school administrators which was classified by position showed the overall range had differences at the .01 level of significance. Meanwhile, classification by school sizes had no differences. 4. The school – community relationship operations which was classified by position showed the overall range had differences at the .01 level of significance. Meanwhile, classification by school sizes had no differences.
5. The leadership of school administrators had a positive correlation with the school – community relationship operations at high level (rxy = .821) with the .01 level of significance.
6. Five aspects of administrators' leadership were found to have five aspects that could predict the effectiveness of teamwork in schools, including participatory leadership. transformational leadership and leadership in communication Statistically significant at the .01 level, creative leadership. and visionary leadership Statistically significant at the .05 level with a predictive power of 68.30% and a standard error of prediction equal to ±0.20342.
7. Guidelines for development in areas that must be used to develop leadership development guidelines for executives, there are 5 areas: 1) Participatory leadership: Educational administrators should provide opportunities for teachers to participate in evaluating school performance. 2) Transformational leadership includes executives being inspirational. There is teamwork, idealism, intellectual stimulation and individual consideration.3) Leadership in communication, including administrators and teachers, should be mutually aware. Using symbols and systems to communicate for mutual understanding. 4) Creative leadership: Educational administrators are creative people. There is thought of a solution. or deal with it in a constructive way In order to benefit all parties, we give importance to teachers. that must enhance teaching skills and allow teachers to understand 5) Visionary leadership includes giving personnel the opportunity to participate in brainstorming, planning, and setting the direction of the educational institution.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำของผู้บริหาร, การทำงานเป็นทีมKeyword
Leadership of Administrators, Teamworkกำลังออนไลน์: 26
วันนี้: 501
เมื่อวานนี้: 4,077
จำนวนครั้งการเข้าชม: 591,695
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093