...
...
เผยแพร่: 29 มิ.ย. 2568
หน้า: 279-290
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 3
Download: 2
Download PDF
ความต้องการจำเป็นและแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11
Needs Assessment and Guidelines for Developing Digital Leadership of Department Heads in Large - Sized Primary Schools under The Regional Education Office No. 11
ผู้แต่ง
ปรียาฉัตร สนธิรักษ์, วัฒนา สุวรรณไตรย์, ภัทรดร จั้นวันดี
Author
Preeyachat Sontirak, Watana Suwannatrai, Pataradron Junwandee

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ สภาพที่เป็นจริง และสภาพที่พึงประสงค์ ศึกษาความต้องการจำเป็น และแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา
ขนาดใหญ่ ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูผู้สอน ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ประจำปีการศึกษา 2566 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 391 คน จำแนกเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ จำนวน 23 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 184 คน และครูผู้สอน จำนวน 184 คน จาก 23 โรงเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำดิจิทัลของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ซึ่งแบบสอบถามสภาพที่เป็นจริง มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.695 - 0.927 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.988 และแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.810 - 0.954  มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.990 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) และการหาค่าความต้องการจำเป็น (PNImodified)
    ผลการวิจัยพบว่า
        1. สภาพที่เป็นจริงของภาวะผู้นำดิจิทัลของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
        2. สภาพที่เป็นจริง และสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำดิจิทัลของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ ตามความคิดเห็นของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า สภาพที่เป็นจริง โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวม และรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า สภาพที่เป็นจริง โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        3. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านวิสัยทัศน์ดิจิทัล 2) ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ยุคดิจิทัล 3) ด้านความสามารถในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 4) ด้านการมีความรู้และทักษะดิจิทัล และ 5) ด้านการทำงานเป็นทีม ตามลำดับ
        4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ 3 ลำดับ ดังนี้ 1) ด้านวิสัยทัศน์ดิจิทัล หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สามารถกำหนดเป้าหมายของกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อตอบสนองจุดเน้นของสถานศึกษา และนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ พัฒนาระบบประกันคุณภาพของสถานศึกษา 2) ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ยุคดิจิทัลหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ควรเป็นแบบอย่างที่ดี ใช้ทักษะความเป็นผู้นำดิจิทัลพัฒนา และเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของครูให้สามารถปรับตัว และเรียนรู้ร่วมกัน สร้างเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 3) ด้านความสามารถในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ต้องนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาบูรณาการจัดการเรียนการสอน ออกแบบการจัดการเรียนรู้และประเมินผลผู้เรียนตามแนวทาง
ของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และพัฒนาผู้เรียนตามความสามารถของผู้เรียน 

Abstract

    The purposes of this research were to examine and compare current and desirable conditions, needs assessment and seek guidelines for developing digital leadership of department heads in large - sized primary schools under the Regional Education Office No. 11. The sample group obtained through purposive sampling consisted of 391 participants, including 23 deputy directors of academic affairs, 184 heads of department, and 184 teachers from 23 schools in the academic year 2023. The tool used to collect data was a set of questionnaire on the current and desirable conditions of digital leadership of department heads. The questionnaire on the current condition for digital leadership of department heads had the discriminative power from 0.695 to 0.927 with the reliability of 0.988. The desirable condition questionnaire had the discriminative power from 0.810 to 0.954 with the reliability of 0.990. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, hypothesis testing using One - Way ANOVA, and Modified Priority Needs Index (PNImodified).
    The findings were as follows:
        1. The current conditions for digital leadership of department heads in large-sized primary schools showed the overall at a high level, while the overall desirable conditions was at the highest level.
        2. The current and desirable conditions for digital leadership of department heads in large - sized primary schools according to the opinion of deputy directors of academic affairs, heads of department, and teachers, classified by positions showed no differences in the overall current conditions, while the desirable conditions, the overall and each aspect, were no differences. Meanwhile, the overall of current conditions which were classified by working experiences were no differences, in terms of the overall of desirable conditions found differences at the .01 level of significance. 
        3. The needs assessment for digital leadership of department heads in large-sized primary schools were ranked in descending order as follows: 1) Digital vision, 2) Creating a digital learning culture, 3) Digital ability for teaching and learning, 4) Digital literacy, and 5) Teamwork, respectively.
        4. Guidelines for developing digital leadership of department heads in large-sized primary schools showed with the following 3 descending orders in the needs of improvement: 1) Digital vision: Department heads should be able to set up the goals of the substance group according to the aims of the school. Using digital technology in developing the quality of teaching and learning and school accreditation. 2) Creating a digital learning culture: Department heads should be the role model in using digital technology for teachers to adjust their work performance, learning to work together, building network and creating the work condition in improving teaching and learning, and 3) Digital ability for teaching and learning: Department heads should be able to integrate digital technology in designing teaching and evaluating based on learning management in the 21st century guidelines to promote student learning. 

คำสำคัญ

ความต้องการจำเป็น, แนวทางในการพัฒนา, ภาวะผู้นำดิจิทัล

Keyword

Needs Assessment, Guidelines Development, Digital Leadership

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0093

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093