บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์และอำนาจพยากรณ์ และเพื่อหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 45 คน และครู จำนวน 293 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 338 คน ปีการศึกษา 2566 การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกนโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยใช้ขนาดของโรงเรียนเป็นชั้น (Strata) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยเครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางการบริหาร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.987 - 0.988 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.987 - 0.988 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเปี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t - test for Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson's Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยคัดสรรทางการบริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครู จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง จำแนกตามขนาดโรงเรียน และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครู จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง จำแนกตามขนาดโรงเรียน และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารกับประสิทธิผลโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (RXY = 0.844)
6. ปัจจัยคัดสรรทางการบริหาร ทั้ง 5 ด้าน มีอำนาจพยากรณ์กับประสิทธิผลโรงเรียน ได้แก่ ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านโครงสร้างการบริหารสถานศึกษาและ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลโดยรวมของโรงเรียน ได้ร้อยละ 71.30 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±0.20227
7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยคัดสรรทางการบริหาร ดังนี้ 7.1) ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ ควรปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ใกล้ตัวของนักเรียน ให้เป็น smart school ให้เป็นโอกาสในการพัฒนาโรงเรียน พัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้นักเรียน 7.2) ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ผู้บริหารจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มองเห็นอนาคตและเป็นผู้รอบรู้ สนับสนุนและส่งเสริมให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ 7.3) ด้านการพัฒนาบุคลากร ควรมีการส่งเสริมพัฒนาบุคลากรตามศักยภาพ และความสามารถของแต่ละคน มีการสนับสนุนบุคลากรให้ได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ส่งเสริมให้บุคลากรเข้ารับการอบรม สัมมนา 7.4) ด้านโครงสร้างการบริหารสถานศึกษา ควรจัดโครงสร้างให้ชัดเจน ระบุผู้รับผิดชอบระบุขอบข่ายงานมีขั้นตอนการทำงาน การวางตัวบุคคลต้องสอดคล้องกับความรู้ความสามารถและความสนใจ 7.5) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโรงเรียน ควรมีการสนับสนุนให้ครูใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดกระบวนการเรียนรู้และต้องมีการจัดสรรเทคโนโลยีเพื่อการบริหาร การจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนและผู้เรียน
Abstract
The purposes of this research were to examine, compare, and determine the relationship and the predictive power, and to establish guidelines for developing selected administrative factors that affected the effectiveness of schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon, as perceived by school administrators and teachers. The sample group consisted of 45 school administrators and 293 teachers, totaling 338 participants in the academic year 2023. The sample size was determined using the Krejcie and Morgan table and stratified random sampling with the strata defined based on school sizes. The research tools were questionnaires and interview forms. The questionnaires assessing administrative factors and the effectiveness of secondary school administration showed predictive power values ranging from 0.987 to 0.988, and 0.987 to 0.988, respectively, both demonstrating a reliability value of 0.98. Statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation, t - test for Independent Samples, One - Way ANOVA, Pearson's Product - Moment Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings were as follows:
1. The selected factors in school administration were overall at a high level
2. The school effectiveness was overall at a high level.
3. The selected administrative factors, as perceived by participants classified by positions, school sizes, and work experience showed differences overall at the .01 level of significance.
4. The school effectiveness, as perceived by participants classified by positions, school sizes, and work experience showed differences overall at the .01 level of significance.
5. The selected administrative factors exhibited a positive relationship with school effectiveness at a high level and achieved the .01 level of significance, as indicated by a correlation coefficient (RXY = 0.844).
6. The selected administrative factors across five aspects: organizational atmosphere and culture, administrators’ leadership, personnel development, school administrative structure, and Information technology, demonstrated predictive power on school effectiveness. They predicted the overall effectiveness of the schools at a rate of 71.30 percent, with a standard error estimate of ±0.20227.
7. Guidelines for developing the selected administrative factors were detailed as follows: 7.1) Organizational Atmosphere and Culture: improving school landscapes as learning resources, enhancing smart school concepts, providing school development opportunities, and developing student learning resources; 7.2) Administrators’ Leadership: demonstrating a broad vision, fostering forward - thinking and mastery, supporting personnel to be a learning person; 7.3) Personnel Development: promoting personnel potential and abilities, encouraging higher education pursuit, facilitating participation in training and seminars; 7.4) Educational School Administration Structure: establishing a well - organized administrative structure, assigning responsible individuals, specifying scopes of work, implementing defined work procedures, and aligning personnel with their knowledge, abilities, and interests; 7.5) School Information Technology (IT): encouraging teachers to integrate IT into learning process, allocating technology for administrative purposes, and tailoring teaching and learning to school and student needs.
คำสำคัญ
ปัจจัยคัดสรรทางการบริหาร, ประสิทธิผลโรงเรียนKeyword
Selected Administrative Factors, School Effectivenessกำลังออนไลน์: 28
วันนี้: 467
เมื่อวานนี้: 4,077
จำนวนครั้งการเข้าชม: 591,661
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093