...
...
เผยแพร่: 29 มิ.ย. 2568
หน้า: 258-269
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 3
Download: 2
Download PDF
การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
A Factor Analysis of Digital Leadership of School Administrators Under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
ธรรมาภรณ์ บุญยอด, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ระภีพรรณ ร้อยพิลา
Author
Thunmapond Boonyod, Ploenpit Thummarat, Rapeepan Roypila

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 การวิจัยมี 2 ขั้นตอน ตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ตอนที่ 2 เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 383 คน จำแนกเป็น จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 105 คน และครูผู้สอน จำนวน 278 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.61 - 0.83 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.99 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สำหรับการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน 
    ผลการวิจัยพบว่า
        1. องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 มีองค์ประกอบหลัก 5 และองค์ประกอบย่อย 14 องค์ประกอบ 56 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย องค์ประกอบ
ที่ 1 วิสัยทัศน์ดิจิทัลประกอบด้วย 1) การสร้างวิสัยทัศน์ดิจิทัล 2) การเผยแพร่วิสัยทัศน์ดิจิทัล และ 3) การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ดิจิทัล องค์ประกอบที่ 2 การรู้ดิจิทัล ประกอบด้วย 1) การเข้าใจดิจิทัล 2) การใช้ดิจิทัล และ 3) การรู้สารสนเทศ  องค์ประกอบที่ 3 ด้านการสื่อสารดิจิทัล ประกอบด้วย 1) ทักษะในการสื่อสารดิจิทัล2) เจตคติในการสื่อสารดิจิทัล และ 3) ความชัดเจนในการสื่อสารดิจิทัล องค์ประกอบที่ 4 การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในโลกดิจิทัล ประกอบด้วย 1) ค่านิยมการทำงานแบบร่วมมือกัน และ 2) ความคล่องตัวทางดิจิทัล องค์ประกอบที่ 5 ความเป็นมืออาชีพด้านดิจิทัล ประกอบด้วย 1) ความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2) การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ดิจิทัล และ 3) การบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
    2. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การสื่อสารดิจิทัล รองลงมา คือ การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในโลกดิจิทัล ความเป็นมืออาชีพด้านดิจิทัล วิสัยทัศน์ดิจิทัล และการรู้ดิจิทัล ตามลำดับ
    3. การตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยได้ค่าวัดความสอดคล้อง χ^2  = 58.377, df = 49, χ^2/ df =1.191, P-value = 0.1687, RMSEA = 0.022, CFI = 0.998, TLI = 0.997 และ SRMR = 0.013 โดยมีค่าของน้ำหนักองค์ประกอบเป็นบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกองค์ประกอบ และมีค่าอยู่ระหว่าง 0.928 ถึง 0.982  เรียงลำดับค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อย ดังนี้ การรู้ดิจิทัล (0.982) การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในโลกดิจิทัล (0.963) ความเป็นมืออาชีพด้านดิจิทัล (0.957) วิสัยทัศน์ดิจิทัล (0.946) และการสื่อสารดิจิทัล (0.928)

Abstract

    The purposes of this research were: 1) to study the elements of digital leadership of educational institution administrators, 2) to study the digital leadership of educational institution administrators, and 3) to analyze the confirmatory elements of digital leadership of educational institution administrators under the jurisdiction of the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2. The sample group used in the research consisted of school administrators and teachers under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2, academic year 2023. The sample group consisted of 383 people, classified as 105 school administrators and 278 teachers, using multi -stage random sampling. Data were collected using a 5 - level estimation scale questionnaire, which had a discriminatory power ranging from .61 to .83 and a reliability coefficient of 0.99. Descriptive and inferential statistics were analyzed using the SPSS software package, while confirmatory factor analysis was conducted using the Mplus program. 
    The research results were as follows:
        1. Components of digital leadership of school administrators under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 have 5 main components and 14 sub-components, with 56 indicators, consisting of: Component 1: Digital vision, consisting of 1) creating a digital vision, 2) dissemination of the digital vision, and 3) implementation of the digital vision; Component 2: Digital literacy, consisting of 1) digital understanding, 2) digital use, and 3) information literacy; Component 3: Digital communication, consisting of 1) digital communication skills, 2) digital communication attitude, and 3) clarity in digital communication; Component 4: Creating a learning culture in the digital world, including 1) collaborative working values and 2) digital agility; and Component 5: Digital professionalism, consisting of 1) expertise in using digital technology, 2) creating a digital learning environment, and 3) management using digital technology.
        2. The digital leadership of educational institution administrators under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 overall was at the highest level. When considering each component, it was found that the component with the highest average was digital communication, followed by creating a learning culture in the digital world, digital professionalism, digital vision, and digital literacy, respectively.
        3. Checking the consistency of the digital leadership component analysis model of school administrators under the jurisdiction of the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2, the development was consistent with empirical data. The conformity measures were obtained as follows: χ2 = 58.377, df = 49, χ2/df = 1.191, P - value = 0.1687, RMSEA = 0.022, CFI = 0.998, TLI = 0.997, and SRMR = 0.013. The weight of the elements is positive and statistically significant at the 0.01 level for every element and has a value between 0.928 and 0.982. The weight values of the components from highest to lowest are as follows: digital literacy (0.982), creating a learning culture in the digital world (.963), digital professionalism (0.957), digital vision (0.946), and digital communication (0.928).

คำสำคัญ

การวิเคราะห์องค์ประกอบ, ภาวะผู้นำดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษา

Keyword

Factor Analysis, Digital Leadership, School Administrators

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0093

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093