บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ในงานประดิษฐ์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมองระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการงานอาชีพของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมองกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของความคิดสร้างสรรค์ในงานประดิษฐ์ของนักเรียน
ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ฝ่ายประถม) จำนวน 40 คน ใช้เทคนิคการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง 2) แบบวัด ความคิดสร้างสรรค์ในงานประดิษฐ์ จำนวน 3 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.89, 0.80, และ 0.91 ตามลำดับ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการงานอาชีพ มีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.25 - 0.67 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.27 - 0.84 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 และ 4) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ในงานประดิษฐ์ มีค่าดัชนีสอดคล้องเท่ากับ 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความคิดสร้างสรรค์ในงานประดิษฐ์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการงานอาชีพของนักเรียนหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมองของชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70
3. การเปลี่ยนแปลงของความคิดสร้างสรรค์ในงานประดิษฐ์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง พบว่า นักเรียนมีเปลี่ยนแปลงของการคิดสร้างสรรค์ในงานประดิษฐ์สูงขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ย 11.20, 12.60, 13.60 และ 14.50 ตามลำดับ
Abstract
The aims of this research were to 1) compare the creative thinking in the inventions of students being taught by creative - based learning activities and brainstorming techniques between before and after learning, 2) compare the Learning achievement in home economics of students being taught by creative-based learning activities and brainstorming techniques against of 70 percent criterion, and 3) study the changes of creative thinking in the inventions of students being taught by creative - based learning activities and brainstorming techniques. The simples consisted 40 students of fifth grade, Wang Klai Kangwon School Under The Royal Patronage Of Majesty The King (Primary Division) by using a simple random sampling technique. Research instruments included the 1) learning activity lesson plans for home economics subject by using creative-based learning activities and brainstorming techniques, 2) creative thinking in the inventions test, 3 tests (reliability = 0.89, 0.80, and 0.91) respectively, 3) the Learning achievement in home economics test, (p = 0.25 - 0.67, r = 0.27 - 0.84, reliability = 0.92), and 4) creative thinking in the inventions assessment forms (IOC = 1.00) Data were analyzed by using mean score, standard deviation, T - test, and content analysis.
The research of the study revealed that:
1. Creative thinking in the inventions of students being taught by creative - based learning activities and brainstorming techniques were higher than these before at the .05 level significance.
2. Learning achievement in home economics of students being taught by creative - based learning activities and brainstorming techniques higher than the 70 percent at the .05 level significance.
3. Creative thinking in the inventions of students being taught by creative-based learning activities and brainstorming techniques showed a positive change with averages of 11.20, 12.60, 13.60, and 14.50, respectively.
คำสำคัญ
การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน, เทคนิคระดมสมอง, ความสามารถคิดสร้างสรรค์ในงานประดิษฐ์Keyword
Creativity - Based Learning, Brainstorming techniques, Creative thinking in the inventionsกำลังออนไลน์: 21
วันนี้: 406
เมื่อวานนี้: 4,077
จำนวนครั้งการเข้าชม: 591,600
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093