บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา 2) สร้างแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 94 คน ครูผู้สอน จำนวน 308 คน รวมทั้งสิ้น 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น PNIModified Index
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและตำแหน่งในยุคดิจิทัล รองลงมา คือ ด้านการสรรหา บรรจุแต่งตั้งบุคลากรในยุคดิจิทัล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการออกจากราชการในยุคดิจิทัล และสภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและตำแหน่งในยุคดิจิทัล รองลงมา คือ ด้านการสรรหา บรรจุแต่งตั้งบุคลากรในยุคดิจิทัล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการออกจากราชการในยุคดิจิทัล ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยเรียงลำดับความสำคัญดังนี้ 1) ด้านออกจากราชการในยุคดิจิทับ 2) ด้านการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษในยุคดิจิทัล 3) ด้านการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในยุคดิจิทัล 4) ด้านการวางแผนอัตรากำลังตำแหน่งในยุคดิจิทัล 5) ด้านการสรรหา บรรจุแต่งตั้งบุคลากรในยุคดิจิทัล
2. แนวทางการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ที่ได้ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว มี 5 ด้าน 15 ข้อ ได้แก่ 1) ด้านการออกราชการ
ในยุคดิจิทัล จำนวน 3 ข้อ 2) ด้านการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษในยุคดิจิทัล จำนวน 3 ข้อ 3) ด้านการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรในยุคดิจิทัล จำนวน 3 ข้อ 4) ด้านการวางแผนอัตรากำลังตำแหน่งในยุคดิจิทัล จำนวน 3 ข้อ 5) ด้านการสรรหา บรรจุแต่งตั้งบุคลากรในยุคดิจิทัล จำนวน 3 ข้อ
Abstract
The objectives of this research were 1) to study the current situation, the desirable conditions and needs for personnel administration of school in digital era, 2) to create guidelines for the personnel administration of school in digital era, 3) to evaluate guidelines for the personnel administration of schools in digital era under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 1. The sample group consisted of 94 administrators and 308 teachers, with the total number of 402 people. The tools used to collect data were a 5 - level rating scale questionnaire and semi - structured interview form. The statistics used for data analysis comprised frequency, percentage, mean, standard deviation and PNI Modified Index.
The research results were found that:
1. The current situation of personnel administration of school in digital era under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 1, in overall, was rated at a high level, when considering each aspect, it was found that the aspect with the highest average was manpower and position planning in digital era, followed by recruitment and appointment of personnel in digital era, the aspect with the lowest average was resignation from the government service in digital era, the desirable conditions of personnel management of schools in digital era under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 1, in overall, were rated at a high level, when considering each aspect, it was found that the aspect with the highest average was manpower and position planning in digital age, followed by personnel recruitment and appointment in digital era, the aspect with the lowest average was resignation from the government service in digital era, needs for personnel administration of school in digital era under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 1, ranked in order of the importance, were as follows: 1) the aspect of resignation from the government service in digital era, 2) the aspect of disciplinary action and punishment in digital era, 3) the aspect of development of government teachers and Educational personnel in digital era, 4) manpower and position planning in digital era, 5) personnel recruitment and appointment in digital era.
2. Guidelines for personnel administration of school in digital era under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 1 evaluated by experts consisted of 5 aspects, 15 items, including 1) 3 items of resignation from the government service in digital era, 2) 3 items of disciplinary action and punishment in digital era, 3) 3 items of development of teachers and personnel in digital era, 4) 3 items of manpower and position planning in digital era, 5) 3 items of personnel recruitment and appointment in digital era.
คำสำคัญ
แนวทางการพัฒนา, การบริหารงานบุคคล, ในยุคดิจิทัลKeyword
Guidelines for Developing, Personnel Management, Digital Eraกำลังออนไลน์: 25
วันนี้: 559
เมื่อวานนี้: 4,077
จำนวนครั้งการเข้าชม: 591,753
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093