บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการในการบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 44 โรงเรียน ทั้งหมด 109 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี มีภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในระดับมาก
2. แนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการในการบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้หลักการแนวคิดวงจรคุณภาพ PDCA ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนเพื่อเตรียมการปฏิบัติ (Plan - P) ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติตามแผน (Do - D) ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบและประเมินผล (Check - C) ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงาน (Act - A)
Abstract
The objectives of this research is 1) study the academic leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office in Surat Thani Province 2) to explore approaches to enhance academic leadership in the inclusive education management of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office in Surat Thani Province. This research is a The population for this phase consists of 109 school administrators from 44 schools under the Secondary Educational Service Area Office in Surat Thani Province. The tool used for data collection is a questionnaire. The statistical methods used for data analysis include frequency, percentage, mean, and standard deviation. The participants for the focus group discussion consist of 9 individuals. The tool used for data collection is a focus group discussion record. The data is analyzed using content analysis and descriptive narrative writing.
The results showed that
1. School administrators under the Surat Thani Secondary Educational Service Area Office exhibit a high level of academic leadership.
2. S The approach to enhancing academic leadership in the inclusive education management of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office in Surat Thani Province are developed using the PDCA quality cycle principle, which consists of the following steps: Step 1: Planning for preparation (Plan - P) Step 2: Implementing the plan (Do - D) Step 3: Checking and evaluating the results (Check - C) Step 4: Adjusting and correcting work practices (Act - A)
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำทางวิชาการ, การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม, แนวทางการสร้างเสริมKeyword
Academic Leadership, Integrated Educational Management, Promotion Strategiesกำลังออนไลน์: 18
วันนี้: 578
เมื่อวานนี้: 4,077
จำนวนครั้งการเข้าชม: 591,772
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093